กรณีศึกษาของคานคอนกรีตเสริมเหล็กยึดติดแผ่นเหล็กด้วยอีพ็อกซี่ที่มีสลักเกลียวฝังยึดบริเวณปลายและภายในช่วงคาน
คำสำคัญ:
สลักเกลียวฝังยึด, พฤติกรรมคอมโพสิต, การเสริมกำลังจากภายนอก, การวิบัติแบบหลุดล่อนที่ผิวสัมผัสภายใน, การลอกออกที่ปลายก่อนเวลากำหนดบทคัดย่อ
ข้อเสียประการหลักของการเสริมกำลังจากภายนอกในคานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยการยึดติดแผ่นเหล็กกับผิวหน้ารับแรงดึงของคอนกรีตคือ เกิดการวิบัติแบบหลุดล่อนที่ผิวสัมผัสภายในระหว่างแผ่นเหล็กและคานคอนกรีตที่นำไปสู่การสูญเสียพฤติกรรมคอมโพสิตอันเนื่องมาจากการเหนี่ยวนำของแรงเฉือนและแรงลอกกระจายขนาดใหญ่ที่อาณาบริเวณเล็กๆ ใกล้กับปลายของแผ่นเหล็ก เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกันสถานการณ์ที่กล่าวถึงนี้ ผลลัพธ์ต่างๆ ที่พบในการทดลองเมื่อเพิ่มเติมการติดตั้งสลักเกลียวฝังยึดในคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริมกำลังโดยยึดติดแผ่นเหล็กด้วยอีพ็อกซี่ได้มีการบ่งชี้ว่า การเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้งความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกและการแอ่นตัวของคานสามารถบรรลุเป็นผลสำเร็จได้ แต่กระนั้นก็ตาม การวิบัติจากการหลุดล่อนยังคงปรากฏอยู่ซึ่งสามารถสังเกตได้จากความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักบรรทุกและการแอ่นตัว ผลลัพธ์เชิงทดลองได้มีการแสดงให้เห็นอีกด้วยว่า การใช้ระบบสมอจับยึดด้วยสลักเกลียวสามารถป้องกันการเกิดขึ้นของการวิบัติจากการหลุดล่อนแบบสมบูรณ์อันเนื่องมาจากการลอกออกที่ปลายก่อนเวลากำหนดของแผ่นเหล็กและอีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงสมรรถนะของคานเสริมกำลัง รูปแบบของการวิบัติเปลี่ยนจากรูปแบบเปราะสำหรับคานที่ไม่มีสมอจับยึดไปสู่รูปแบบเหนียวสำหรับคานที่มีสมอจับยึดซึ่งเป็นรูปแบบการวิบัติที่ดี
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์