การศึกษาการตรวจสอบสะพานด้วยเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ

ผู้แต่ง

  • ฺบวรชนก มณีรัตน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิทิต ปานสุข
  • พชร เครือวิทย์

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ, เทคโนโลยีสามมิติจากภาพถ่าย, แบบจำลองจุดก้อนเมฆ, แบบจำลองสามมิติ, จุดควบคุมภาพถ่าย, ความละเอียดจุดภาพ

บทคัดย่อ

การตรวจสอบโครงสร้างสะพานนั้นเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่สำคัญที่ช่วยในการเพิ่มอายุการใช้งานของสะพาน โดยวิธีการตรวจสอบด้วยตาเปล่าเป็นขั้นแรกของการตรวจสอบ ที่จะต้องใช้กำลังคนในการเข้าถึงพื้นที่เพื่อตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่วิศวกรหรือผู้ตรวจสอบที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจวิธีการและพฤติกรรมของสะพานเพื่อทำการประเมินความเสียหายโครงสร้างสะพาน ซึ่งจะต้องใช้เวลา ค่าใช้จ่ายที่สูง รวมไปถึงความซับซ่อนของข้อมูลโดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาและนำเสนอเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) ที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึง ลดอุบัติเหตุ รวมไปถึงความสามารถในการสร้างแบบจ าลองสามมิติ โดยในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอหลักการโฟโตแกรมเมตรี(Photogrammetry) ในการสร้างแบบจำลองจุดก้อนเมฆ (Point Cloud) เพื่อประมวลผลสร้างภาพออรฺโธร์ (Orthophoto) ที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบความเสียหายของสะพานกำหนดค่าความละเอียดจุดพิกเซล (Ground Sample Distance: GSD) เท่ากับ 0.5 cm/pix การซ้อนทับส่วนทับซ้อน (Overlap) และ ส่วนเกย (Sidelap)80 และ 80 ตามล าดับ รวมไปถึง การก าหนดจุดควบคุมภาพถ่ายและจุดตรวจสอบทั้งหมด 29 จุด โดยผลลัพธ์ที่ได้ท าการตรวจสอบความถูกต้องของระยะแต่ละจุดแบบจ าลองที่ได้กับพื้นที่จริง 38 จุด รวมไปถึงรูปแบบความเสียหายที่เกิดขึ้นบนแบบจ าลองกับพื้นที่จริง 26จุด พบว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นอีกตัวเลือกนึง ที่สามารถทดแทนการตรวจสอบแบบดั้งเดิม ช่วยในการเข้าถึง และ ลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ตรวจสอบ โดยระยะแต่ละจุดของภาพออร์โธมี เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 1.14 % และการตรวจสอบความเสียหายมีเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย 12.37 % เปรียบเทียบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงบนสะพาน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##