การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของเสาตอม่อสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยใช้ความเสื่อมสภาพของคอนกรีตจากการตรวจสอบ

ผู้แต่ง

  • เกวลิน เทพสุภรณ์กุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธิดารัตน์ วิสุทธิ์เสรีวงศ์
  • วิทิต ปานสุข ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

โครงสร้างตอม่อของสะพาน, หลักการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ค่าดัชนีความเชื่อมั่น

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการก่อสร้างและบำรุงรักษาสะพานได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ช่วยในการพัฒนาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มีความสะดวกสบายและความแม่นยำมากยิ่งขึ้น การที่สามารถรู้สภาพความเสียหายและสามารถทำการคาดคะเนความน่าจะเป็นในการชำรุดเสียหายของสะพานได้นั้น จะส่งผลให้เกิดการบำรุงรักษาสะพานได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดและก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนผู้ที่สัญจรอยู่บนสะพาน งานวิจัยฉบับนี้จึงทำการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือ (Reliability analysis) ของโครงสร้างตอม่อสะพาน ได้ทำการศึกษากรณีตัวอย่างสะพานข้ามแม่น้ำบริเวณอำเภอเมืองจังหวัดจันทบุรี กม. 330+939.000 ซึ่งมีการใช้งานมายาวนานกว่า 26 ปี เมื่ออายุการใช้งานมากขึ้น สะพานและตอม่อสะพานมีโอกาสเกิดการชำรุดเสียหาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การชำรุดของตอม่อสะพาน โดยใช้โปรแกรม ATENA จำลองแบบ 3 มิติเสมือนจริง ทำการพิจารณาแรงและการโก่งตัวที่เกิดขึ้น ซึ่งใช้หลักการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (FEM) จากนั้นทำการหาค่าดัชนีความเชื่อมั่น (Reliability Index) ของโครงสร้างตอม่อของสะพาน โดยนำผล FEM มาวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของโครงสร้างสะพาน ด้วยโปรแกรม SARA จากการศึกษาพบว่าสามารถนำข้อมูลค่าดัชนีความเชื่อมั่นของโครงสร้าง เพื่อใช้อ้างอิงในการประเมินสภาพปัจจุบันของสะพาน และชี้วัดช่วงเวลาที่ควรทำการบำรุงรักษาต่อไป

 

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20

วิธีการอ้างอิง

[1]
เทพสุภรณ์กุล เ., วิสุทธิ์เสรีวงศ์ ธ. ., และ ปานสุข ว., “การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของเสาตอม่อสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยใช้ความเสื่อมสภาพของคอนกรีตจากการตรวจสอบ”, ncce27, ปี 27, น. STR33–1, ก.ย. 2022.