การศึกษาความสว่างที่เหมาะสมในพื้นที่ก่อสร้างถนน กรณีศึกษา : ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายสามแยกดอยติ-เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • รัชฎาพร ธิสาไชย ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.ตาก
  • อัครพงษ์ เทพแก้ว สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงใหม่
  • ณัฐชนน ปัญญาเทพ
  • ทักษ์ดนัย ขัตติยะ

คำสำคัญ:

ความสว่าง, อุบัติเหตุ, พื้นที่ก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวัดค่าความสว่างบริเวณพื้นที่ก่อสร้างถนนที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ กรณีศึกษาพื้นที่ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายสามแยกดอยติ-เชียงใหม่ พื้นที่รับผิดชอบของกรมทางหลวง เพื่อหาค่าความสว่างที่เหมาะสม เพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็นให้แก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะสัญจรผ่านบริเวณพื้นที่ก่อสร้างถนน จากการศึกษาพบว่าค่าความสว่างมีความสัมพันธ์ต่อจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุแบบแปรผกผัน โดยค่าความสว่างที่ต่ำมีจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุสูงและลดลงเมื่อความสว่างเพิ่มขึ้น โดยที่ค่าความสว่างตั้งแต่ 6 lux ขึ้นไป จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุจะเริ่มลดลง ซึ่งเป็นค่าความสว่างขั้นต่ำที่จะนำมาเป็นข้อมูลใช้พิจารณารูปแบบการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่าง รวมทั้งใช้ในการพัฒนามาตรฐานในการติดตั้งอุปกรณ์ส่องสว่างในบริเวณพื้นที่ถนนที่มีการก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ก่อสร้างถนน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
ธิสาไชย ร., เทพแก้ว อ., ปัญญาเทพ ณ., และ ขัตติยะ ท., “การศึกษาความสว่างที่เหมาะสมในพื้นที่ก่อสร้างถนน กรณีศึกษา : ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายสามแยกดอยติ-เชียงใหม่”, ncce27, ปี 27, น. TRL42–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##