การประเมินจำนวณจุดขัดแย้งและประสิทธิภาพของทางแยกวงเวียน กรณีศึกษา : วงเวียนสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ทางแยกวงเวียน, จุดขัดแย้ง, แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคบทคัดย่อ
ทางแยกวงเวียนถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถลดจำนวนจุดขัดแย้งบนทางแยกได้ เมื่อเทียบกับทางแยกที่ไม่มีสัญญาณไฟในรูปแบบอื่น ๆ และสามารถลดความเร็วของยานพาหนะที่เข้าสู่ทางแยกได้ ในการศึกษานี้จึงวัตถุประสงค์เพื่อประเมินจุดขัดแย้งที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และประสิทธิภาพด้านการจราจรของทางแยกวงเวียนภายใต้รูปแบบทางแยกในสภาพปัจจุบันและกรณีการปรับปรุงทางแยกวงเวียนในแต่ละรูปแบบ ทางแยกวงเวียนที่เลือกใช้เป็นกรณีศึกษาคือทางแยกวงเวียนสันติธรรม จังหวัดเชียงใหม่ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคในการประเมินจำนวนจุดขัดแย้งและประสิทธิภาพด้านการจราจรของทางแยก ซึ่งได้แบ่งการปรับปรุงทางแยกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ทางแยกวงเวียนสภาพปัจจุบัน 2) การเพิ่มขนาดเกาะกลางของวงเวียน 3) การเพิ่มขนาดเกาะกลางของวงเวียน และปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของทางเข้าทางแยก จากผลการศึกษาพบว่า ทางแยกวงเวียนที่มีการเพิ่มขนาดเกาะกลางของวงเวียน และปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของทางเข้าทางแยก มีจำนวนจุดขัดแย้งที่น้อยกว่าการออกแบบทั้ง 2 ลักษณะ และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านการจราจรของทางแยกวงเวียนได้ดีขั้นอีกด้วย
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์