การศึกษาการจัดการการจราจรบริเวณทางแยกที่มีรูปแบบต่างกันด้วยแบบจำลองด้านการจราจร
คำสำคัญ:
การจัดการการจราจร, รูปแบบทางแยก, แบบจำลองด้านการจราจรบทคัดย่อ
การจราจรที่หนาแน่นมีสาเหตุมาจากมีจุดกำเนิดและดึงดูดการเดินทางในพื้นที่จำนวนมากและกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากสถิติการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของจังหวัดเชียงใหม่คิดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ รองจากกรุงเทพมหานคร (ข้อมูลวันที่ 30 มีนาคม 2565) การจัดการด้านการจราจรที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดปัญหาความล่าช้าในการเดินทางและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ การจราจรติดขัดมักเกิดขึ้นบริเวณที่ยานพาหนะหยุดหรือชะลอตัว จากการศึกษาในอดีตมักจะมุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุและปัญหาทางด้านมลพิษ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาการจราจรรูปแบบต่าง ๆ เช่น การสร้างเส้นทางใหม่ การเพิ่มและขยายช่องทางจราจร การศึกษานี้ศึกษารูปแบบการจัดการจราจรที่ทางร่วมทางแยก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและคัดเลือกรูปแบบทางแยกที่สอดคล้องกับปริมาณการจราจรที่เกิดขึ้น ผ่านการรวบรวมข้อมูลด้านการจราจร ได้แก่ ความเร็ว เวลาในการเดินทาง อัตราการไหล และปริมาณการจราจร และลักษณะทางกายภาพที่ใช้เป็นกรณีศึกษา พร้อมทั้งประยุกต์ใช้แบบจำลองด้านการจราจรระดับจุลภาคในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการศึกษา โดยกำหนดรูปแบบการจัดการทางแยกที่แตกต่างกัน 5 ลักษณะ คือ ทางแยกที่มีสัญญาณไฟและไม่มีสัญญาณไฟ วงเวียนทั่วไปและที่มีทางเบี่ยงซ้าย และการบังคับเลี้ยว การศึกษานี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการทางแยกและเข้าใจพฤติกรรมยานพาหนะที่เข้าสู่ทางแยกและทราบผลกระทบของการจราจรกับรูปแบบทางแยกที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการออกแบบทางแยกที่มีความเหมาะสมกับปริมาณการจราจรในอนาคตต่อไปได้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์