การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอนุกรมเวลาอินซาร์เพื่อติดตามการเคลื่อนตัวของเขื่อนศรีนครินทร์
คำสำคัญ:
อินซาร์, อนุกรมเวลาอินซาร์, เขื่อนศรีนครินทร์, การติดตามการเคลื่อนตัวบทคัดย่อ
ปัจจุบันการนำข้อมูลดาวเทียมจากเรดาร์ช่องเปิดสังเคราะห์ (SAR)มาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเขื่อนนั้นประสบความสำเร็จเป็น อย่างมาก เนื่องจากสามารถตรวจสอบติดตามการเคลื่อนตัวของเขื่อน ได้สะดวกและมีความแม่นยำสูง แต่การเคลื่อนตัวของเขื่อนนั้นเกิดขึ้นได้จากหลาย ปัจจัย จึงควรมีการตรวจสอบในบริเวณกว้างและสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ตลอดเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดในการใช้ทรัพยากรบุคคลเพื่อลงพื้นที่ ตรวจสอบ งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอนุกรมเวลาของอินซาร์ (Time – series InSAR) ในการติดตามการเคลื่อนตัวของโครงสร้างเขื่อน และ ศึกษารูปแบบการแสดงผลลัพธ์แบบสามมิติที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างทางวิศวกรรม ในงานวิจัยได้นำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-1 จำนวน 24 ภาพตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 22 สิงหาคม 2564 พื้นที่ศึกษาคือ เขื่อนศรีนครินทร์ ตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านเจ้าเณร ตำบลท่า กระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ความสูง 140 เมตร ความยาว 610 เมตร และความ กว้าง 15 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้ 17,745 ล้านลูกบาศก์เมตร จากการวิจัยผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในแนวทิศทางดาวเทียม โดยตรวจพบการเคลื่อนตัวประมาณ -05.22 มิลลิเมตรต่อปี ไปจนถึง +07.04 มิลลิเมตรต่อปี การประยุกต์ใช้อนุกรมเวลาอินซาร์ในการตรวจสอบการเคลื่อนตัวของเขื่อนนั้นเป็นการระบุพื้นที่ที่ เกิดการเคลื่อนตัว โดยเป็นเพียงการเตือนความปลอดภัย และแสดงให้เห็นว่าบริเวณพื้นที่ใดต้องมีการดำเนินการตรวจสอบที่แม่นยำและมีการลงพื้นที่เพื่อ ตรวจสอบความปลอดภัยเขื่อนมากขึ้น จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Time-series InSAR และการแสดงผลลัพธ์ที่ ได้จากการติดตามการเคลื่อนตัวของเขื่อนในรูปแบบสามมิติผ่านทาง Cesium The Platform for 3D Geospatial
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์