การศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชุดดินเกาะสีชังสำหรับแบบจำลอง SWAT

ผู้แต่ง

  • วิธวินท์ ห.เพียรเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ศ.ดร. อุมา สีบุญเรือง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • อุบะ ศิริแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ธนกร ภู่สุวรรณ์
  • ดร.พิณิช ธนชัยโชคศิริกุล

คำสำคัญ:

แผนที่ชุดดิน, แบบจำลองอุทกวิทยา SWAT, ศักยภาพน้ำท่าผิวดิน, สารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

เกาะสีชังเป็นเกาะท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง แต่ด้วยขนาดพื้นที่ที่มีขนาดเล็กเพียง 4 ตารางกิโลเมตร และด้วยสภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นชั้นหินปูนและหินดินดาน ทำให้ช่วงฤดูฝนมีปริมาณฝนมาก เกิดน้ำท่าในปริมาณมาก แต่ในช่วงแล้งกลับประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำจืด ทางชุมชนจึงต้องซื้อน้ำจาก อ.ศรีราชา ซึ่งมีราคาแพงมาบริโภค เสียโอกาสทางเศรษฐกิจและส่งผลถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน แหล่งน้ำบาดาลที่ค้นพบยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ เนื่องจากเป็นชั้นน้ำบาดาลในหินผุ แนวทางการแก้ปัญหาจึงจำเป็นต้องกักเก็บน้ำท่าผิวดินที่มีปริมาณมากในฤดูฝนไว้ใช้ในฤดูแล้ง ดังนั้นการประเมินศักยภาพน้ำท่าผิวดินบนเกาะขนาดเล็กจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำเร่งด่วน ปัจจุบันระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) มีเครื่องมือเสริมเพื่อจำลองปริมาณน้ำท่าผิวดิน ชื่อว่า แบบจำลองวัฏจักรทางอุทกวิทยา (Soil and Water Assessment Tool: SWAT) ช่วยคำนวณกระบวนการย่อยของวัฏจักรอุทกวิทยา แต่จำเป็นต้องทราบพารามิเตอร์จำนวนมาก เช่น คุณสมบัติของดินมีผลต่อปริมาณน้ำท่าผิวดิน เป็นต้น การประเมินปริมาณน้ำท่าที่แม่นยำจำเป็นต้องมีตัวแปรตั้งต้นที่ถูกต้อง สำหรับพารามิเตอร์ดินของเกาะสีชัง ยังไม่มีผลการสำรวจชุดดินที่เผยแพร่ในวงกว้างและฐานข้อมูลดินของ QSWAT ไม่ครอบคลุมพื้นที่เกาะสีชัง งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสร้างแผนที่ชุดดิน (Soil Map) ในพื้นที่เกาะสีชังเพื่อใช้เป็นค่าตั้งต้นในการจำลองปริมาณน้ำท่าผิวดินโดยรวบรวมข้อมูลดิน ร่วมกับการทดสอบตัวอย่างดินจำนวน 14 ตำแหน่งแบ่งขอบเขตอิทธิพลของดินแต่ละตัวอย่างด้วย Thiessen Polygon ผลการศึกษาพบว่าดินบนเกาะสีชังส่วนใหญ่จำแนกได้เป็นดินทรายปนดินเหนียว จัดกลุ่มดินทางอุทกวิทยาได้กลุ่ม C และ D ค่าการซึมได้ในสภาพอิ่มตัวต่ำ มีศักยภาพน้ำท่าผิวดินสูง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
ห.เพียรเจริญ ว., สีบุญเรือง อ., ศิริแก้ว อ., ภู่สุวรรณ์ ธ., และ ธนชัยโชคศิริกุล พ., “การศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรมของชุดดินเกาะสีชังสำหรับแบบจำลอง SWAT”, ncce27, ปี 27, น. WRE23–1, ก.ย. 2022.