การวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านน้ำรายตำบลในจังหวัดพัทลุงที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี
คำสำคัญ:
น้ำท่วมพัทลุง, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ, HEC-RASบทคัดย่อ
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนการขยายตัวของภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันปัญหาด้านน้ำก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในจังหวัดพัทลุงซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศและการแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ โดยจากข้อมูลพบว่าจังหวัดพัทลุงมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยประมาณ 186,000 ไร่ และพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง 2,500 ไร่ ซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านน้ำรายตำบลในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและระดับของปัญหา ทั้งด้านน้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการผลิต น้ำท่วม คุณภาพน้ำ สภาพป่าต้นน้ำ
และการบริหารจัดการ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ได้รับผ่านแบบสอบถามจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ กับข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ในแต่ละด้าน เช่น พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก น้ำแล้งซ้ำซาก พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม รวมทั้งการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม โดยจะแสดงผลการเปรียบเทียบปัญหาและความรุนแรงในลักษณะของแผนที่รายตำบล
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์