การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของคันทางรองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกน

ผู้แต่ง

  • ศศิพิมพ์ แสนบุญศิริ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ชนา พุทธนานนท์
  • พรเกษม จงประดิษฐ์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ความคุ้มทุน, เสาเข็มดินซีเมนต์, เสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมคันทางบนดินอ่อนรองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกน โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับต้นทุนการก่อสร้างของคันทางที่รองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนกับเสาเข็มดินซีเมนต์ปกติ งานศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลขโดยใช้แบบจำลองสามมิติแบบสมมาตรเพื่อตรวจสอบตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อสมรรถนะของคันทาง ซึ่งทำการศึกษาเสาเข็มสามประเภท คือเสาเข็มดินซีเมนต์ เสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนคอนกรีต และเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนไม้ โดยควบคุมราคาการก่อสร้างของเสาเข็มดินซีเมนต์และเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนคอนกรีตให้เท่ากัน และใช้ขนาดแกนไม้เท่ากับแกนคอนกรีต จากการศึกษาพบว่า การใช้เสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกนคอนกรีตสามารถลดการทรุดตัว การเคลื่อนตัวด้านข้าง และการทรุดตัวที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับเสาเข็มดินซีเมนต์ แต่เมื่อเปรียบเทียบการใช้แกนคอนกรีตกับแกนไม้ พบว่าพฤติกรรมของเสาเข็มแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ในขณะที่แกนไม้ใช้ราคาก่อสร้างที่ต่ำกว่ามาก เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของคันทางในด้านต่าง ๆ กับต้นทุนค่าก่อสร้าง พบว่า ต้นทุนค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเสาเข็มได้ในช่วงแรกเท่านั้น เมื่อถึงจุดหนึ่ง การเพิ่มต้นทุนค่าก่อสร้างไม่มีนัยสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของเสาเข็มในการรองรับคันทาง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

แสนบุญศิริ ศ., พุทธนานนท์ ช., & จงประดิษฐ์ พ. (2021). การวิเคราะห์ความคุ้มทุนของคันทางรองรับด้วยเสาเข็มดินซีเมนต์เสริมแกน . การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, GTE-09. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/818

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##