การศึกษาคุณสมบัติของมวลรวมที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์สำหรับงานทาง

ผู้แต่ง

  • ไอรดาภรณ์ หาดแก้ว ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จ.พะเยา
  • ณัฐนนท์ คุ้มครุฑ

คำสำคัญ:

วัสดุงานทาง, วัสดุผิวทางเก่า, พอลิเมอร์ผสมสไตรีนอะคริลิค, พอลิเมอร์สไตรีนบิวตาไดอีน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการจราจรที่มากขึ้น ส่งผลให้โครงสร้างชั้นทางมีการรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นอายุการใช้งานจึงสั้นลง อีกทั้งบางพื้นที่ถนนอาจมีน้ำท่วมขัง ทำให้เกิดความชื้น (Moisture) และเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ชั้นทางเกิดการทรุดตัว โครงการนี้จึงได้ทำการศึกษาคุณสมบัติของมวลรวมที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ โดยการทดสอบนี้ใช้มวลรวมคือ หินคลุก และวัสดุผิวทางเก่า นำมาปรับปรุงคุณภาพซีเมนต์พอลิเมอร์ชนิดสไตรีนอะคริลิค (SA) และพอลิเมอร์สไตรีนบิวตาไดอีน (SBR) จากนั้นทำการทดสอบด้านกำลังรับแรงได้แก่ การทดสอบกำลังรับแรง
อัดแกนเดียว (UCS) และการทดสอบกำลังรับแรงดึงทางอ้อม (IDT) และการทดสอบด้านทนทานความชื้นได้แก่ การทดสอบการดูดซึมน้ำในมวลดิน และการทดสอบความทนทาน (Durability Test) โดยวิธีเปียกสลับแห้ง ผลทดสอบพบว่า กำลังรับแรงอัดของวัสดุที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ทั้งสองประเภทของหินคลุกมีค่าสูงกว่าวัสดุผิวทางเก่า ตรงกันข้ามผลการทดสอบกำลังรับแรงดึงทางอ้อมของวัสดุที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์
ทั้งสองประเภทของวัสดุผิวทางเก่ามีค่าสูงหินคลุก อีกทั้งผลการทดสอบการดูดซึมน้ำในมวลดิน และการทดสอบความทนทานของทั้งสองวัสดุพบว่าการปรับปรุงมวลรวมด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์ชนิดพอลิเมอร์สไตรีนบิวตาไดอีน (SBR) ส่งผลดีในด้านการทนทานความชื้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

หาดแก้ว ไ., นุสิทธิ์ ก., จิตเสงี่ยม พ. ., ประอ้าย ส., & คุ้มครุฑ ณ. . (2021). การศึกษาคุณสมบัติของมวลรวมที่ปรับปรุงด้วยซีเมนต์พอลิเมอร์สำหรับงานทาง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, GTE-11. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1077