อิทธิพลของขนาดคละต่อกำลังรับแรงของหินคลุกผสมซีเมนต์พอลิเมอร์สำหรับชั้นพื้นทาง
คำสำคัญ:
การปรับปรุงคุณภาพดิน, ดินซีเมนต์พอลิเมอร์, หินคลุก, กำลังรับแรงบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของขนาดคละที่ส่งผลต่อกำลังรับแรงของหินคลุกผสม ซีเมนต์-พอลิเมอร์
(cement-Polymer mixture) สำหรับงานชั้นพื้นทาง โดยทำการปรับขนาดคละของหินคลุกแหล่งเดียวกัน แบ่งตัวอย่างเป็น 3 ประเภท คือ หินคลุก
มวลรวมปกติหินคลุกมวลละเอียดร้อยละ 20 และหินคลุกมวลละเอียดร้อยละ 30 จากนั้นทำการปรับปรุงคุณภาพด้วยซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่
1 และ พอลิเมอร์(Polymer) ชนิดสไตรีนอะคริลิค (SA) เป็นสารผสมเพิ่มในอัตราส่วนผสมซีเมนต์พอลิเมอร์90:10 ที่อายุการบ่ม 7 วัน และ 28 วัน
นำมาทดสอบกำลังรับแรงทั้งกำลังอัดแกนเดียว(Unconfined Compression Test) และทดสอบหากำลังการรับแรงดึงทางอ้อม (Indirect Tensile
Strength) ตามมาตรฐานกรมทางหลวง และได้มีทำการทดสอบหากำลังรับน้ำหนักของดินที่บดอัด (California Bearing Ratio) ที่อายุบ่ม 7 วัน จาก
ผลการทดสอบพบว่าเมื่ออัตราส่วนของปริมาณมวลละเอียดเพิ่มขึ้น อิทธิพลของขนาดคละจะส่งผลทำให้ค่ากำลังรับแรงอัดแกนเดียวและกำลังรับแรง
ดึงทางอ้อมที่อายุบ่ม 7 และ 28 วัน มีค่ากำลังรับแรงลดลงและมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ และเมื่ออัตราส่วนของปริมาณมวลละเอียดเพิ่มขึ้น อิทธิพล
ของขนาดคละจะส่งผลทำให้ค่า ซี.บี.อาร์ของวิธีการทดสอบแบบแช่น้ำ และแบบไม่แช่น้ำ มีแนวโน้มลดลง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์