ปัจจัยที่มีผลต่อค่าฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนจากกิจกรรมในงานก่อสร้างอาคารบ้านพักอาศัย

ผู้แต่ง

  • นายศรัณย์ มุ่งสุจริตการ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มานพ แก้วโมราเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

บทคัดย่อ

ปัจจุบันงานก่อสร้างในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการขยายที่อยู่พักอาศัยทำให้เกิดโครงการใหม่ๆ ขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน และจากปัญหาในภาคเหนือของประเทศไทยมักประสบปัญหาค่าฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน เกินค่ามาตรฐาน โดยปัญหาฝุ่นละอองจากบริเวณที่มีการก่อสร้าง จัดได้ว่าเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดมลภาวะเกี่ยวกับฝุ่น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมในงานก่อสร้างที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แต่ละกิจกรรม และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ถูกวัดค่าก่อน และหลังการก่อสร้างในแต่ละกิจกรรมของขั้นตอนการก่อสร้าง ผ่านอุปกรณ์วัดแบบพกพา โดยเลือกประเภทของกิจกรรมการก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง จำนวน 6 กิจกรรม โดยทำการวัดซ้ำกิจกรรมละ 3 รอบ และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์แต่ละกิจกรรม และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินผลกระทบและวิธีการป้องกันรับมือปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กต่อไป ในงานวิจัยนี้เบื้องต้นพบว่ามีกิจกรรม การตัดและการขัดทำให้เกิดฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

มุ่งสุจริตการ น., & แก้วโมราเจริญ ม. (2021). ปัจจัยที่มีผลต่อค่าฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนจากกิจกรรมในงานก่อสร้างอาคารบ้านพักอาศัย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, CEM-27. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/823

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##