การใช้อุณหภูมิเพื่อเร่งการเกิดความเครียดคงค้างเมื่อตาข่ายเสริมกำลังชนิดโพลิโพรไพลีนรับแรงแบบวัฏจักร

  • วรกมล บัวแสงจันทร์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วรัช ก้องกิจกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ: การทดสอบแรงดึง, ความเครียดคงค้าง, แรงแบบวัฏจักร, ตาข่ายเสริมกำลัง, อุณหภูมิ

บทคัดย่อ

ปัจจุบัน งานก่อสร้างโครงสร้างดินเสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์ได้รับความนิยมเป็นอย่างแพร่หลายในงานด้านวิศวกรรมเทคนิคธรณี เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับราคา แต่หากเปรียบเทียบกับวัสดุเสริมแรงชนิดอื่น อาทิ แถบเหล็กเสริมแรง จะเห็นได้ว่าวัสดุเสริมแรงสังเคราะห์สามารถเกิดการเสียรูปได้สูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องรับแรงแบบวัฏจักรความเครียดที่เกิดขึ้นในวัสดุเสริมแรงมีทั้งส่วนที่สามารถกลับคืนมาได้เมื่อมีการถอนแรง และส่วนที่ไม่สามารถกลับคืนได้แม้ทำการถอนแรงแล้ว หรือที่เรียกว่าความเครียดคงค้าง งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาเกี่ยวกับการใช้อุณหภูมิในการเร่งการเกิดความเครียดคงค้างของตาข่ายเสริมกำลังโพลิเมอร์ชนิดโพลิโพรไพลีน (PP) เมื่อรับแรงแบบวัฏจักร (Cyclic residual strain) โดยทำการทดสอบแรงดึงด้วยเงื่อนไขการให้แรงและอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. แรงกระทำแบบต่อเนื่อง (Monotonic loading, ML) ภายใต้อุณหภูมิคงที่ (Constant temperature, CT) (ML-CT) ที่ 30, 35, 40, 45 และ 50 oC 2. แรงกระทำแบบ   วัฏจักร (Cyclic loading, CL) ภายใต้การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเป็นลำดับขั้น (Stepped by increased temperature, SIT) (CL-SIT) จาก 30 -> 35 -> 40 -> 45 -> 50 oC และ 3. แรงกระทำแบบวัฏจักร (CL) ภายใต้อุณหภูมิคงที่ (CT) (CL-CT) ที่ 30 oC จากการศึกษาพบว่าค่าความเครียดคงค้างของตาข่ายเสริมกำลังโพลิเมอร์ชนิดโพลิโพรไพลีนเมื่อรับแรงแบบวัฏจักรที่ได้จากการทดสอบแบบ CL-SIT สามารถใช้ในการทำนายค่าความเครียดคงค้างเมื่อรับแรงแบบวัฏจักรในระยะยาว (CL-CT) ได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24