การศึกษาระบบสมดุลตะกอนบริเวณระบบหาดบางเบิด

ผู้แต่ง

  • พชรวรรณ วนพฤกษ์ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ผศ.ดร. สมฤทัย ทะสดวก ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ระบบสมดุลตะกอน, เนินทรายชายฝั่ง, เนินทราย, กระบวนการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเล

บทคัดย่อ

บทความนี้ทำการศึกษาระบบสมดุลตะกอนบริเวณระบบหาดบางเบิด อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร โดยพิจารณาระบบสมดุลตะกอนบริเวณเนินทรายลมหอบและชายหาดที่มีกระบวนการการเคลื่อนที่ของตะกอนเนื่องจากคลื่นและกระแสน้ำ โดยใช้แนวคิดระบบสมดุลตะกอนระหว่างชายหาดและเนินทราย ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (DEMs) แต่ละปีที่มีในพื้นที่ เพื่อแบ่งขอบเขตชายหาดและเนินทราย โดยเส้นระดับน้ำขึ้นเต็มที่ยอดสูงปานกลาง (MHHW) แบ่งเขตระหว่างทะเลและชายหาด ส่วนเส้นศักยภาพพืช (PVL) แบ่งเขตระหว่างชายหาดและเนินทราย โดยสองเส้นนี้ทำให้ทราบความสูง ความกว้างและความชันของชายหาด ต่อมาแบ่งพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ย่อย จะได้ขอบเขตชายหาดและเนินทรายที่ชัดเจน เพื่อจำแนกประเภทของเนินทราย จากนั้นคำนวณปริมาณตะกอนชายหาดและเนินทรายแต่ละพื้นที่ย่อย โดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) นำผลที่ได้แต่ละปีมาเปรียบเทียบจะได้อัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณตะกอนชายหาดและเนินทราย โดยมีประเภทของเนินทรายเป็นเกณฑ์ พบว่าพื้นที่เนินทรายที่มีการพัฒนามีอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณตะกอนเนินทรายสูงกว่าเนินทรายที่ไม่มีการพัฒนา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของเนินทรายที่หายไปขึ้นอยู่กับประเภทของเนินทราย นอกจากนั้นอาจขึ้นอยู่กับความกว้างของชายหาดและอิทธิพลของกระบวนการทางทะเลและลม ปัจจุบันชายหาดมีอัตราการกัดเซาะระดับปานกลางและในอนาคตอาจมีอัตราการกัดเซาะสูงขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลต่อปริมาณตะกอนเนินทรายด้วยเช่นกัน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง