การทดสอบการแจกแจงความถี่สำหรับสภาพการไหลต่ำสุดในลุ่มน้ำยม กรณีพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา บุญมา ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ผศ.ดร. สมฤทัย ทะสดวก 2 ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการทดสอบทฤษฎีการแจกแจงความถี่ที่เหมาะสมกับข้อมูลอัตราการไหลสูงสุด ในลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่าน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของลุ่มน้ำ และปริมาณอัตราการไหล ซึ่งมีความสำคัญในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำและการออกแบบอาคารชลศาสตร์ ดังนั้นทฤษฎีการวิเคราะห์การแจกแจงความถี่ด้วยวิธีเดิมอาจไม่เหมาะสมกับสภาพการไหลสูงสุดในปัจจุบัน ผู้ศึกษาจึงทำการทดสอบทฤษฎีการแจกแจงความถี่ที่เหมาะสมกับข้อมูลอัตราการไหลสูงสุดใหม่  เพื่อเปรียบเทียบทฤษฎีการแจกแจงความถี่ที่นิยมใช้เดิม โดยใช้ข้อมูลน้ำท่าจากสถานีตัวแทนที่มีช่วงข้อมูลไม่ต่ำกว่า 20 ปี และมีลักษณะการไหลแบบธรรมชาติ ทั้งหมด 25 สถานี ทำการเปรียบเทียบทฤษฎีการแจกแจงความถี่ 6 ทฤษฎีคือ ทฤษฎีล็อกเพียรซัน-ประเภทสาม ทฤษฎีไวบูลล์สาม-พารามิเตอร์ ทฤษฎีล็อกนอร์มอลสามพารามิเตอร์ ทฤษฎีแกมมาสองพารามิเตอร์ ทฤษฎีไวบูลล์สองพารามิเตอร์ และ ทฤษฎีกัมเบล ใช้วิธีทดสอบ 3 วิธีคือ วิธีไครสแควร์ วิธีโคลโมโกรอฟ-สเมอรนอฟ และวิธีกำลังสองน้อยที่สุด พบว่าทฤษฎีแกมมาสองพารามิเตอร์ ประมาณค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีความน่าจะเป็นสูงสุด มีความเหมาะสมกับข้อมูลอัตราไหลสูงสุดในพื้นที่ศึกษามากที่สุด และมีค่าความเหมาะสมมากกว่าทฤษฎีการแจกแจงความถี่ที่นิยมใช้เดิม

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

บุญมา ข., & ทะสดวก ผ. ส. . (2021). การทดสอบการแจกแจงความถี่สำหรับสภาพการไหลต่ำสุดในลุ่มน้ำยม กรณีพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, WRE-21. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/979