การประเมินประสิทธิภาพและความถูกต้องของเครื่องรับและเสาอากาศรับสัญญาณดาวเทียมราคาประหยัดแบบ สองความถี่สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานด้านอากาศยานไร้คนขับ ด้วยวิธีการหาตำแหน่งจุดเดี่ยวความละเอียดสูง

  • เจตนิพัทธ์ กิตติบุญเกศ ภาควิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธีทัต เจริญกาลัญญูตา ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ไพศาล สันติธรรมนนท์ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธีรรักษ์ มณีนาถ บริษัทอินฟราพลัสจำกัด กรุงเทพฯ ประเทศไทย
คำสำคัญ: การหาตำแหน่งจุดเดี่ยวความละเอียดสูง, การประเมินความถูกต้อง, ราคาประหยัด, อากาศยานไร้คนขับ, ระบบนำทางด้วยดาวเทียม

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการใช้เครื่องรับและเสาอากาศรับสัญญาณราคาประหยัดแบบสองความถี่ในงานสำรวจเริ่มแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพที่ดีขึ้นพร้อมกับราคาที่เข้าถึงได้ จึงมีการนำมาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ที่ต้องการความถูกต้องในระดับเซนติเมตรถึงเดซิเมตร เช่น การใช้ในงาน UAV photogrammetry mapping , topographic หรือ surface model วิธีการหาตำแหน่งจุดเดี่ยวความละเอียดสูง (PPP) เป็นที่น่าสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถให้ค่าพิกัดที่มีความถูกต้องสูงได้ด้วยข้อมูลรังวัดจากเครื่องรับเพียงเครื่องเดียว ความถูกต้องขึ้นกับข้อมูลนาฬิกาดาวเทียมและอีฟิเมอริสความละเอียดสูง ซึ่งใช้งานง่าย ไม่ต้องอาศัยสถานีฐานและประหยัดค่าใช้จ่าย งานวิจัยนี้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทดสอบประสิทธิภาพและความถูกต้องของค่าพิกัดที่ได้จากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมราคาประหยัดประเภทสองความถี่ (u-blox ZED-F9P) โดยทำการทดสอบด้วยจานรับสัญญาณราคาประหยัดที่ต่างกัน 2 แบบคือ BT-147 และ Helix สำหรับใช้งานภาคพื้นดินและติดบน UAV โดยทดสอบ ppp – kinematic ด้วยการจำลองการทำงานของ UAV ด้วยการติดตั้งบนรถแล้วทดสอบวิ่งบนทางด่วนด้วยความเร็ว 10 m/s และ 20 m/s แทนการบินด้วยโดรนประเภท multi-rotor และ fixed wing ตามลำดับ แล้วนำมาเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องรับแบบ geodetic (R7 Trimble zephyr2) ทั้งแบบวิธี ppp-static และ ppp-kinematic เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับความละเอียดถูกต้องที่ต้องการ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์