การประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดแบบ Virtual RINEX สำหรับงานรังวัดที่ดินในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สิรีธร เปรียบจัตุรัส ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธีทัต เจริญกาลัญญูตา ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

โครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์เทคนิคสถานีฐานอ้างอิงเสมือน, การรังวัดแบบ Virtual RINEX, การประมวลผลภายหลัง, การรังวัดที่ดิน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบัน งานรังวัดที่ดินในประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ (Network-based Real time Kinematic - NRTK) ด้วยเทคนิคสถานีฐานอ้างอิงเสมือน (Virtual Reference Station - VRS) มาประยุกต์ใช้งาน โดยเทคนิคสถานีฐานอ้างอิงเสมือนเป็นเทคนิคการรับสัญญาณ GNSS จากสถานีฐานอ้างอิงแบบรับสัญญาณต่อเนื่องถาวร ( Continuously Operating Reference Stations -CORS) แล้วจะส่งไปยังศูนย์ควบคุม จากนั้นศูนย์ควบคุมจะทำการคำนวณสร้างแบบจำลองค่าแก้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งเครื่องรับของผู้ใช้งานจะส่งตำแหน่งโดยประมาณของตนเอง (ค่าพิกัดในรูปแบบ NMEA) ไปยังศูนย์ควบคุม จากนั้นศูนย์ควบคุมจะใช้ข้อมูลจากสถานี CORS ที่อยู่ใกล้กับผู้ใช้งานจำนวนอย่างน้อย 3 สถานีเพื่อจำลองสถานีเสมือน ณ ตำแหน่งโดยประมาณของเครื่องรับให้ผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ อย่างไรก็ตามเทคนิคสถานีฐานอ้างอิงเสมือนยังสามารถทำงานแบบการประมวลผลภายหลัง (Post processing) ได้โดยการสร้างไฟล์สถานีฐานอ้างอิงเสมือน Virtual RINEX ผ่านเว็บไซต์ CORS WEB โดยงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดแบบ Virtual RINEX สำหรับงานรังวัดที่ดินในประเทศไทย

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

เปรียบจัตุรัส ส., & เจริญกาลัญญูตา ธ. (2021). การประเมินประสิทธิภาพของการรังวัดแบบ Virtual RINEX สำหรับงานรังวัดที่ดินในประเทศไทย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, SGI-01. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/771