การติดตั้งอุปกรณ์วัดทางเทคนิคธรณีเพื่อการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์สำหรับอ่างเก็บน้ำเก่า กรณีศึกษา: อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
อ่างเก็บน้ำ, เขื่อน, อุปกรณ์วัดทางเทคนิคธรณี, ระดับน้ำต่ำสุด, ระดับน้ำสูงสุดบทคัดย่อ
บทความนี้เสนอผลการศึกษาเสถียรภาพของอ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว จ.ตรัง โดยเริ่มต้นจากการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์วัดทางเทคนิคธรณีที่ติดตั้งในตัวอ่างฯ ประกอบด้วย เซ็นเซอร์วัดแรงดันน้ำ หลุมเจาะสังเกตระดับน้ำ และเกจวัดน้ำฝน จากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์พฤติกรรมของอ่างฯ โดยใช้ไฟไนต์เอลิเมนต์ผ่านการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Plaxis แบบจำลองโครงสร้างอ่างฯ สร้างโดยการอ้างถึงแบบก่อสร้างร่วมกับการสำรวจภาคสนามเพื่อตรวจสอบมิติ ของตัวอ่างฯ ในสภาพปัจจุบัน แล้วจึงได้กำหนดให้ระดับน้ำในอ่างฯ เปลี่ยนแปลงระหว่างระดับต่ำสุดและสูงสุด ผลการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์แสดงให้เห็นว่า อ่างฯ ยังมีสภาพการใช้งานได้ตามปกติสำหรับกรณีระดับน้ำสูงสุด แต่สำหรับกรณีระดับลดต่ำสุดอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้บริเวณหน้าเขื่อนเกิดการทรุดตัวหลายจุด ผลการศึกษาที่ได้จะมีประโยชน์สำหรับการนำไปใช้ป้องกันการเสียหายของอ่างฯ เก่า รวมทั้งการนำไปออกแบบอ่างฯ ใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาการวิบัติเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำอย่างรวดเร็ว
Downloads
เอกสารอ้างอิง
ส่วนความปลอดภัยเขื่อน สำนักอุทกวิทยาและบริหาร กรมชลประทาน (สามเสน). 2554. คู่มือการประเมินสภาพเขื่อนโดยวิธีดัชนีสภาพ(Dam Assessment Manual by Condition Index)
ปราโมทย์ ไม้กลัด. 2529. คู่มือการออกแบบเขื่อนดิน (design of small dam) สำนักออกแบบและสถาปัตยกรรม กรมชลประทาน(สามเสน)
มณเฑียร กังศศิเทียม. 2555.กลศาสตร์ของดินด้านวิศวกรรม สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทานใน พระบรมราชูปถัมภ์,371 หน้า
ส่วนความปลอดภัยเขื่อน สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน(สามเสน). 2559. คู่มือวัดพฤติกรรมเขื่อน
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์