การศึกษาระดับการรับรู้ของบุคคลจากการสั่นสะเทือนของโครงสร้างทางพิเศษยกระดับบูรพาวิถี

ผู้แต่ง

  • พัทรพงษ์ อาสนจินดา หน่วยวิจัยวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี

คำสำคัญ:

การรับรู้การสั่นสะเทือน, ทางพิเศษยกระดับ, ทางพิเศษบูรพาวิถี, ผลตอบสนองความเร่งของโครงสร้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาระดับการสั่นสะเทือนของโครงสร้างทางพิเศษยกระดับที่มีผลต่อการรับรู้ของบุคคล โดยพิจารณากรณีศึกษาการรับรู้ของผู้ปฏิบัติงาน ณ ด่านชำระค่าผ่านทางทางพิเศษยกระดับบูรพาวิถีจำนวน 3 ด่าน ได้แก่ ด่านชลบุรี ด่านวงแหวนรอบนอก และด่านบางนา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับการสั่นสะเทือนที่ส่งผลต่อผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและเป็นข้อมูลประกอบแนวทางในการประเมินโครงสร้างทางพิเศษยกระดับบูรพาวิถี การศึกษาได้ทำการทดสอบภาคสนามทั้งสามด่านเป็นเวลาด่านละประมาณ 12 ชั่วโมง โดยตรวจวัดค่าความเร่งการสั่นสะเทือนในแนวดิ่ง บริเวณด่านรับชำระค่าผ่านทางช่องซ้ายสุดซึ่งเป็นช่องบริการสำหรับยานพาหนะทุกประเภท และพิจารณาผลกระทบเนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นประเภทยานพาหนะ ลักษณะทางกายภาพของด่าน ระดับการสั่นสะเทือนที่ผิวทางและบริเวณตู้รับชำระค่าผ่านทาง จากนั้นจึงทำการประเมินระดับการรับรู้การสั่นสะเทือนจากค่าแอมพลิจูดของสัญญาณความเร่งและความถี่ของการสั่นสะเทือน โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานสากลต่างๆ จากการศึกษาพบว่าด่านชลบุรีมีระดับการสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่สุดเมื่อเทียบกับอีกสองด่าน โดยมีระดับสูงสุดถึงระดับไม่พอใจ และระดับสูงสุดของทั้งด่านวงแหวนรอบนอกและด่านบางนาอยู่ในระดับรู้สึกได้ ซึ่งพบว่าอาจมีสาเหตุจากลักษณะของด่านชลบุรีซึ่งมีช่องบริการรถบรรทุกหนักอยู่ในตำแหน่งปลายยื่นของหน้าตัดคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง จึงเกิดความเร่งการสั่นสะเทือนที่สูงกว่าด่านอื่น อีกทั้งยังพบว่าเกาะติดตั้งตู้รับชำระค่าผ่านทางสามารถลดความรุนแรงของการสั่นสะเทือนได้เมื่อเทียบกับที่ผิวทาง โดยมีแอมพลิจูดที่ต่ำกว่าที่ผิวทางโดยเฉลี่ยที่ประมาณร้อยละ 17  อีกทั้งพบว่าการเคลื่อนที่ในจังหวะออกตัวของยานพาหนะที่ในเวลาที่ใกล้เคียงกับช่องจราจรข้างเคียงสามารถเพิ่มแอมพลิจูดของการสั่นสะเทือนและระดับการรับรู้ได้รุนแรงมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

[1] Reiher, H. and Meister, F.J. (1931). The effect of vibration on people. U.S. Air Material Command, 2(11), pp. 381-6.

[2] Wiffin, A. C. and Leonard, D. R. (1971). A survey of traffic induced vibrations. Transport and Road Research Laboratory, 57 pp.

[3] International Standard ISO 2631-1. (1997). Mechanical Vibration and shock – Evaluation of human exposure to whole-body vibration – Part 1: General Requirements, International Standards Organization.

[4] International Standard ISO 2631-2. (1989). Evaluation of Human Exposure to Whole-Body Vibration - Part 2: Human Exposure to Continuous and Shock-Induced Vibrations in Buildings, International Standards Organization.

[5] British Standards Institution, BS 6472:1992. (1992). Evaluation of human exposure to vibration in buildings (1 Hz to 80 Hz). British Standards Institution, London.

[6] American National Standards Institute, ANSI S3 29-1993. (1993). Guide to the evaluation of human exposure to vibrations in buildings. Acoustical Society of America, New York, NY.

[7] Deutches Institut fur Normung, DIN 4150: Parts 1, 2 and 3. (1983). Vibrations in buildings: effects on structures. Provisional Standards Revised Draft - Part 3, Berlin.

[8] Athanasopoulos, G.A. and Pelekis, P.C. (2000). Ground vibrations from sheet pile driving in urban environment : measurements, analysis and effects on buildings and occupants, Soil Dynamics and Earthquake Engineering, 19, pp. 371-387.

[9] ธนะเมษฐ์ ประจวบกุลวัฒน์ (2559). การศึกษาผลกระทบการสั่นสะเทือนของโครงสร้างทางพิเศษยกระดับ ที่มีผลต่อการรับรู้ของบุคคลบริเวณสถานีชำระค่าผ่านทาง. งานนิพนธ์บัณฑิตศึกษา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการจดัการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพ้ืนฐาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

[10] Kelley, P.L., Dellorusso, S.J., and Russo, C.J. (1980). Building response to adjacent excavation and construction. Effects of construction on structures, Geotechnical Special Publication, ASCE, 84, pp. 80-97.

[11] Lenzen, K.H. (1966). Vibration of Steel Joist – Concrete Slab Floors. Engineering Journal, AISC, 133-136.

[12] Skipp, B.O. (1997). Ground vibration-codes and standards. Proceedings of the Conference on Ground Dynamics and Man-made Processes. Institution of Civil Engineers, London.

[13] Von Gierke, H. E. and Goldman, D. E. (1988). Effects of shock and vibration on man. Shock and vibration handbook, McGraw-Hill, pp. 41–58.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-06

วิธีการอ้างอิง