การศึกษาปัญหาเชิงเปรียบเทียบแนวทางการใช้แบบจำลองสารสนเทศ (BIM) ในการการออกแบบและถอดปริมาณวัสดุสำหรับงานติดตั้งผนังประกอบอาคาร

การศึกษาปัญหาเชิงเปรียบเทียบแนวทางการใช้แบบจำลองสารสนเทศ (BIM) ในการการออกแบบและถอดปริมาณวัสดุสำหรับงานติดตั้งผนังประกอบอาคาร

ผู้แต่ง

  • สิทธิเดช ชุณหะมณีวัฒน์ ภาควิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • กวิน ตันติเสวี

คำสำคัญ:

แบบจำลองสารสนเทศ , ผนังประกอบอาคาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงแนวทางการใช้แบบจำลองสารสนเทศ(BIM) ในการออกแบบและถอดปริมาณวัสดุ ผนังกรอบอาคารสำหรับอาคารสูง 3 ประเภท ได้แก่ 1. ผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จ 2.ผนังม่านกระจก และ 3. อลูมิเนียมคอมโพสิท โดยมีขั้นตอนการศึกษาถึงระดับความต้องการของฝ่ายที่เกี่ยวข้องสำหรับงานก่อสร้างผนังประกอบอาคาร ได้แก่ ฝ่ายผู้รับเหมา ฝ่ายเจ้าของผลิตภัณฑ์ผละผู้ติดตั้ง และจัดทำแบบจำลองสารสนเทศ ซึ่งการขึ้นแบบจำลองของผู้วิจัยนั้นจะใช้โปรแกรม Revit 2019 ซึ่งในแต่ละผนังประกอบอาคารแต่ละชนิด ที่ผู้วิจัยได้เขียนขึ้นจะมีด้วยกัน 2 ระดับที่ใช้ในการทำงานได้จริง แล้วทำการรายงานผล/ปัญหาที่พบในการสร้างแบบจำลองสารสนเทศสำหรับผนังกรอบอาคารแต่ละประเภท

 

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
ชุณหะมณีวัฒน์ ส. และ ตันติเสวี ก. 2020. การศึกษาปัญหาเชิงเปรียบเทียบแนวทางการใช้แบบจำลองสารสนเทศ (BIM) ในการการออกแบบและถอดปริมาณวัสดุสำหรับงานติดตั้งผนังประกอบอาคาร: การศึกษาปัญหาเชิงเปรียบเทียบแนวทางการใช้แบบจำลองสารสนเทศ (BIM) ในการการออกแบบและถอดปริมาณวัสดุสำหรับงานติดตั้งผนังประกอบอาคาร. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), CEM44.