การประเมินมูลค่าเวลาในการขนส่งสินค้าเกษตร
คำสำคัญ:
มูลค่าเวลาการขนส่งสินค้า, การขนส่งสินค้าเกษตร, ค่าใช้จ่ายผู้ใช้ทาง, แบบจำลองโลจิสติกส์, เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมบทคัดย่อ
สินค้าเกษตรโดยเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพเปลี่ยนแปลงเนื่องจากระยะเวลาและอุณหภูมิ เป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อระยะเวลาของการขนส่ง ระยะเวลาที่นานเกินไปนำมาซึ่งทำความเสียหายแก่ผลผลิตได้
การวิเคราะห์หามูลค่าเวลาของการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะสินค้าเกษตร
ยังมีอยู่จำกัด งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษารูปแบบของการประเมินมูลค่าเวลาในการขนส่งสินค้าเกษตร โดยทำการศึกษาบนพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์ เพื่อนำมาพัฒนาแบบจำลองโลจิสติกส์ (Logistic Model) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างภายในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมเกษตรภาคกลาง การศึกษามูลค่าเวลาของการขนส่งสินค้าเกษตรในงานวิจัยนี้ ใช้รูปแบบของการเก็บข้อมูลโดยสร้างแบบสอบถามที่จำลองสถานการณ์ทางเลือกขึ้นมา ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษาตัวแปรหลักๆ ที่มีความสำคัญในกระบวนการขนส่งสินค้า ประกอบไปด้วย 3 ตัวแปรที่มีผลต่อการตัดสินใจในการขนส่งสินค้าแทบทุกประเภท คือ ค่าใช้จ่ายของการขนส่ง ระยะเวลาของการขนส่ง และความเสียหายจากการขนส่ง แบบสำรวจข้อมูลจะถูกสร้าง โดยนำค่าระดับของตัวแปร (Levels) แต่ละตัวมาออกแบบและสร้างสถานการณ์ทางเลือกตามรูปแบบวิธี State Preference (SP) เพื่อให้ผู้ขนส่งสินค้าพิจารณาเลือกทางเลือก
ที่เกิดอรรถประโยชน์สูงที่สุด จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์หามูลค่าเวลาของการขนส่งสินค้าเกษตร และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการขนส่ง เพื่อสะท้อนถึงปัจจัยหลักที่ผู้ขนส่งสินค้าใช้
ในการตัดสินใจของกระบวนการขนส่งสินค้า ซึ่งผลงานวิจัยนี้ได้เสนอแนวคิดในการประยุกต์ ใช้ผลลัพธ์ของมูลค่าเวลาของการขนส่งสินค้าเกษตร (VOT for Agricultural Product) ซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิร่วมกับมูลค่าเวลาของการเดินทาง (VOT for Travel) ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิเป็นแนวทางในการพัฒนาการประเมินผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงและนำไปใช้ให้เกิดผลประโยชน์ ในอนาคตต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ภาควิชาวิศวกรรมโยธา, มหาวิทยาลัยเทคโนยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วีรยา เลี่ยมเงิน. (2557). การพัฒนาแบบจำลองเพื่อหามูลค่าเวลาในการเดินทาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยบูรพา
เจษฎา โพธิ์จันทร์. (2560). การพัฒนาแบบจำลองแบบต่อเนื่องเพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในมหาวิทยาลัย. วรสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ปีที่10, ฉบับที่2
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
##category.category##
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์