การศึกษาจุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่งของผนังรับแรงคอนกรีตสำเร็จรูปที่ถูกใช้ในอาคารพักอาศัยภายใต้แรงถอน
คำสำคัญ:
จุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่ง, ผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จ, แรงถอนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการถอน และประเมินสมรรถนะของจุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่งของผนังรับแรงคอนกรีตสำเร็จรูป จุดเชื่อมต่อทางแนวดิ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบันและได้ทำการศึกษามี 2 รูปแบบซึ่งประกอบด้วย จุดเชื่อมต่อโดยใช้เหล็กข้ออ้อย (Dowel connection) และจุดเชื่อมต่อโดยการเชื่อมเหล็กเส้นกับแผ่นเหล็ก (Plate connection) ผนังคอนกรีตที่ใช้ทดสอบมีขนาดหน้าตัด 1200mm x600mm ความหนา 100 mm ติดตั้งเหล็กตะแกรง 6mm@100mm เป็นเหล็กเสริมตรงกลางความหนาผนัง และมีเหล็กเสริมพิเศษ 1-DB12 รัดรอบเพื่อป้องกันการแตกร้าว จุดเชื่อมต่อของผนังทั้ง 2 รูปแบบมีการเชื่อมต่อโดยใช้เหล็กเสริมขนาด DB12 สำหรับใช้ในการทดสอบการถอนของจุดเชื่อมต่อผนัง ผลที่ได้จากการทดสอบคือ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงถอนกับระยะการเคลื่อนตัวซึ่งวัดโดยอุปกรณ์ LVDT ที่ติดตั้งบนหัวของเหล็กเสริม ตัวแปรที่ทำการศึกษาคือ รูปแบบของจุดเชื่อมต่อ และระยะฝังต่าง ๆ ของเหล็กเสริมที่ใช้ในจุดเชื่อมต่อแต่ละแบบ จากผลการศึกษาพบว่าแรงถอนสูงสุดจะเพิ่มขึ้นเมื่อระยะฝังเพิ่มมากขึ้น โดยงานวิจัยนี้ช่วยให้ผู้ออกแบบเข้าพฤติกรรมการถอน รูปแบบการวิบัติจากการถอน และให้ทราบถึงระยะฝังที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบต่อไป
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
[2] Precast/ Prestressed Concrete Institute, 2010, PCI Design Handbook 7th Edition, Chicago, IL
[3] มาตรฐานอุตสาหกรรม, ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดคอนกรีต มอก. 747-2549, [Online], http://research.rid.go.th/vijais/ moa/fulltext/TIS737-2549.pdf [2018, June 9]
[4] มาตรฐานอุตสาหกรรม, เหล็กเส้นเสริมคอนกรีตเหล็กข้ออ้อย มอก. 24-2548, [Online], http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/2559/E/119/12.PDF [2018, August 16]
[5] คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา, 2555, มาตรฐานสำหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกำลัง, สำนักพิมพ์ โกลบอล กราฟฟิค จำกัด, กรุงเทพมหานคร.
[6] Wight, James K. and Macgregor. James G., 2011, Reinforced Concrete Mechanics and Design 6th, Pearson Education, pp.367-426.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์