การประมาณค่าปริมาณการใช้น้ำของข้าวแบบนาหว่านน้ำตมในเขตพื้นที่ชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล

  • ณัฐพล เย็นสกุลสุข ภาควิชาวิศวกรรมสํารวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธงทิศ ฉายากุล ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ: การสำรวจระยะไกล, ดัชนีผลต่างพืชพรรณแบบนอร์มอลไลซ์, ปริมาณการใช้น้ำของพืช, สมการ Penman-Monteith

บทคัดย่อ

ปริมาณการใช้น้ำของพืชเป็นองค์ประกอบข้อมูลหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนการจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชลประทานเพื่อให้มีความเหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุนและมีประสิทธิภาพ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการประมาณค่าปริมาณการใช้น้ำของข้าวแบบนาหว่านน้ำตม (ET) ในเขตชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีผลต่างพืชพรรณแบบนอร์มอลไลซ์ (NDVI) ที่ได้จากภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 กับค่าสัมประสิทธิ์พืช (Kc) ที่อ้างอิงจากกรมชลประทาน โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและคำนวณค่า ET โดยการคูณค่าสัมประสิทธิ์พืช (Kc) ที่ได้จาก NDVI กับค่าปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (ETo) ผลการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างแปลงนา พบว่าค่าเฉลี่ยของค่า Kc ที่ได้จาก NDVI มีค่าต่ำสุด 0.8162 ค่าสูงสุด 1.6366 และมีค่าเฉลี่ย 1.3321 และค่า ET ที่คำนวนโดยใช้ค่า Kc ที่ได้จาก NDVI มีค่าต่ำสุด 3.1079 มม./วัน ค่าสูงสุด 6.9011 มม./วัน และมีค่าเฉลี่ย 5.4411 มม./วัน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

Dalla Marta, A., Chirico, G. B., Falanga Bolognesi, S., Mancini, M., D’Urso, G., Orlandini, S., . . . Altobelli, F. (2019). Integrating Sentinel-2 Imagery with AquaCrop for Dynamic Assessment of Tomato Water Requirements in Southern Italy. Agronomy, 9(7).

Kamble, B., Kilic, A., & Hubbard, K. (2013). Estimating Crop Coefficients Using Remote Sensing-Based Vegetation Index. Remote Sensing, 5(4), 1588-1602. doi:10.3390/rs5041588.

Reyes-González, A., Kjaersgaard, J., Trooien, T., Hay, C., & Ahiablame, L. (2018). Estimation of Crop Evapotranspiration Using Satellite Remote Sensing-Based Vegetation Index. Advances in Meteorology, 2018, 1-12.

Richard G Allen, L. S. Pereira, D. Raes, & Smith, M. (1998). FAO Irrigation and drainage paper No. 56.

Rouse, J. W., Jr.,, Haas, R. H., Schell, J. A., & Deering, D. W. (1974). Monitoring vegetation systems in the Great Plains with ERTS. NASA Special Publication, 351, 309.

กรมชลประทาน. (2554). ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman – Monteith

กรมชลประทาน. (2555). ค่าสัมประสิทธิ์พืชโดยวิธี Penman – Monteith

วราวุธ วุฒิวณิชย์ และพีระชาติ อุดาการ. (2546). การศึกษาหาค่าปริมาณการใช้น้ำและสัมประสิทธิ์การใช้น้ำขององุ่น. วิศวกรรมสาร มก, 54-65

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. (2555). โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
เย็นสกุลสุขณ. และ ฉายากุลธ. 2020. การประมาณค่าปริมาณการใช้น้ำของข้าวแบบนาหว่านน้ำตมในเขตพื้นที่ชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI16.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์