แผนที่ 3 มิติ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น
บทคัดย่อ
การเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ภายในโรงเรียน นับเป็นปัญหาสำคัญของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น หากนักเรียนคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุต่อนักเรียนในการเดินทางในโรงเรียนได้ ด้วยเหตุนี้นักเรียนจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนให้คุ้นเคยกับเข้าใจในตำแหน่งและทิศทางของอาคารและสิ่งสำคัญต่าง ๆ ภายในโรงเรียนจะช่วยให้นักเรียนสามารถเดินทางไปในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ภายในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง
งานวิจัยนี้เป็นการทดสอบตัวแปรการรับรู้เชิงสัมผัส เพื่อสร้างแผนที่ 3 มิติของอาคารภายในโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นฝึกให้นักเรียนเข้าใจถึงสัญลักษณ์ และรายละเอียดในแผนที่ ท้ายสุดได้ทดสอบนักเรียนโดยการเดินตามแผนที่ไปยังสถานที่ที่กำหนด และทำการตอบแบบสอบถามโดยการสัมภาษณ์ตามหัวข้อการศึกษา 7 หัวข้อ
ผลที่ได้แสดงดังนี้
- ความพึงพอใจในการใช้งานแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 86%
- ความสะดวกในการใช้แผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 84%
- ความเข้าใจในรายละเอียดของแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 86%
- ความเหมาะสมของสัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 86%
- ความเหมาะสมของขนาดแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 76%
- ความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ในแผนที่มีคะแนนเฉลี่ย 76%
- ประโยชน์ที่ได้รับในชีวิตประจำวันจากแผนที่ 3 มิติมีคะแนนเฉลี่ย 84%
จะเห็นได้ว่าโดยรวมแล้วแผนที่3มิติสามารถใช้งานได้ดี และยังนำไปใช้ในการเรียนการสอนในวิชาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนตาบอดด้วยการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหว
จำนวนการดาวน์โหลด
รายการอ้างอิง
[2] นุ่นนิจ ถาวรรัตน์. บทความเรื่องโลกของคนตาบอด. สืบค้นจาก : https://cfbt.or.th/kr/inde x.php/article/12-blind-world. 27 มกราคม 2563.
[3] ราชบัณฑิตยสถาน (2549). พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์ ราชบัณฑิตยสถาน
[4] Simonetta I. Thermoformatura. สืบค้นจาก : https://www.pinterest.com/pin/28837 1182382906587/. 27 มกราคม 2563
[5] Adelaida CN. Protection of Artwork in the event of accessibility for people with visual impairments. สืบค้นจาก : https://goo.gl/8Np45F. 31 มกราคม 2563.
[6] Don M. and Simon U. (2003) An introduction to the use of inkjet for tactile diagram production. British Journal of Visual Impairment. Volume 21, PP.73-77.
[7] วรชาติ สุวรรณวงศ์ (2546). การหาคุณสมบัติการรับรู้ของตัวแปรเชิงสัมผัส และการออกแบบสัญลักษณ์ที่เหมาะสมสำหรับแผนที่ภาพนูนของคนตาบอด. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสำรวจ. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[8] วีรวรรณ กันทะมา, กฤษดา วงค์ดวง, ก้องเกียรติ ปาฝาง และ พูนวิวัฒน์ พรมชาติ (2548). แผนที่ภาพนูนสำหรับคนตาบอด. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ จังหวัดเชียงใหม่.
[9] มานิต เปนะนาม (2551). การออกแบบสารสนเทศบนแผนที่สัมผัสสําหรับเด็กบกพร่องทางสายตา โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Copyright (c) 2020 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์