การวิจัยศึกษากำลังอัดและกำลังดัดของมอร์ต้าโดยวิธีการอัดขึ้นรูปที่มีการแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่น และเสริมเส้นใยปาล์มน้ำมัน
คำสำคัญ:
เส้นใยน้ำมันปาล์ม, หินฝุ่น, การแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่น,มอร์ต้าเสริมเส้นใยบทคัดย่อ
การวิจัยประยุกต์ใช้วิธีการอัดขึ้นรูปเพื่อผลิตมอร์ต้าที่มีการเสริมเส้นใยปาล์มน้ำมัน และมีการแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่น และศึกษาผลกระทบของการแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่นและการเสริมเส้นใยปาล์มน้ำมันที่มีต่อกำลังรับแรงอัดและกำลังรับแรงดัด โดยเตรียมตัวอย่างมอร์ต้าทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10.16 เซนติเมตร สูง 11.68 เซนติเมตร สำหรับการทดสอบกำลังอัด และตัวอย่างคานขนาด 10×10×35 เซนติเมตร สำหรับการทดสอบกำลังดัด ในการศึกษานี้มีการแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่นในอัตราส่วนร้อยละ 60 และ 100 โดยน้ำหนัก และมีการผสมเส้นใยปาล์มน้ำมันที่อัตราส่วนร้อยละ 2, 4, และ 6 โดยปริมาตร แล้วทำการทดสอบกำลังรับแรงอัดและกำลังรับแรงดัดในอายุการบ่ม 28 วัน จากผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ในกรณีที่ไม่มีการผสมเส้นใยปาล์มน้ำมัน การแทนที่ทรายด้วยหินฝุ่นที่ร้อยละ 60 ให้ค่ากำลังรับแรงอัดมากที่สุด แต่เมื่อมีการผสมเส้นใยปาล์มน้ำมัน พบว่าปริมาณเส้นใยปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทำให้กำลังรับแรงอัดมีค่าลดลง อย่างไรก็ตาม เส้นใยปาล์มน้ำมันนั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแรงดัดอย่างมาก ทั้งค่ากำลังรับแรงดัดคงค้างและความเหนียวดัด
Downloads
เอกสารอ้างอิง
[2] A.K.Singh, V. and Srivastava, V.C. Agarwal, “Stone Dust in Concrete: Effect on Compressive Strength”, International Journal of Engineering and Technical Research Volume 3, Issue 8, (2015)
[3] ASTM DESIGNATION D1557 – 00 Standard Test Methods for Laboratory Compaction Characteristics of Soil Using Modified Effort (56,000 ft-lbf/ft3(2,700 kN-m/m3))
[4] ASTM DESIGNATION D2166 / D2166M – 16 Standard Test Method for Unconfined Compressive Strength of Cohesive Soil
[5] ASTM DESIGNATION . C1609-10, Standard test method for(Flexural Performance of Fiber - Reinforced Concrete[Using Beam with Third-Point Loading]).
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์