การประเมินศักยภาพการลำเลียงน้ำในแม่น้ำลำพระเพลิงด้วยแบบจำลอง HEC RAS
คำสำคัญ:
ศักยภาพการลำเลียงน้ำ, แม่น้ำลำพระเพลิง, แบบจำลอง HEC RASบทคัดย่อ
ในปัจจุบัน หลายพื้นที่ในประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งการศึกษาศักยภาพการลำเลียงน้ำของแม่น้ำสายหลักจึงมีความสำคัญ ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อลดความเสียหายจากการเกิดน้ำท่วม และเพื่อทราบศักยภาพในการลำเลียงน้ำเพื่อการเกษตร โดยการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการลำเลียงน้ำในแม่น้ำลำพระเพลิง ด้วยแบบจำลอง HEC RAS จากการศึกษาพบว่า แม่น้ำลำพระเพลิงมีศักยภาพในการลำเลียงน้ำได้ 56.43 – 667.80 ลบ.ม. ต่อวินาที หรือโดยเฉลี่ย 222.11 ลบ.ม. ต่อวินาที ในกรณีที่เกิดน้ำท่วม แม่น้ำลำพระเพลิงสามารถระบายน้ำท่วมได้ที่คาบการเกิดซ้ำ 100 ปี ทั้งนี้ แม่น้ำลำพระเพลิงมีศักยภาพในการระบายน้ำได้ดีตลอดแม่น้ำลำพระเพลิง แต่มีเพียง 7 หน้าตัดการไหลเท่านั้น จาก 32 หน้าตัดการไหล ที่สามารถระบายน้ำท่วมได้ต่ำกว่า ณ คาบการเกิดซ้ำ 100 ปี สำหรับศักยภาพการระบายน้ำท่วม ณ คาบการเกิดซ้ำ 2 5 10 25 และ 50 ปี เท่ากับ 55.88, 124.95, 156.61, 189.82, 211.89 ลบ.ม.ต่อวินาที ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาพรวมในการระบายน้ำของแม่น้ำลำพระเพลิงคือสามารถระบายน้ำได้ดีในช่วงกลางน้ำและช่วงปลายน้ำของแม่น้ำลำพระเพลิง โดยมีเพียง 5 หน้าตัดการไหลที่เป็นคอคอด ได้แก่ กิโลเมตรที่ 20+535 และจากกิโลเมตรที่ 79+861 ถึง 90+034 ซึ่งเป็นช่วงแม่น้ำที่ควรพิจารณาการขยายศักยภาพการระบายน้ำ
Downloads
เอกสารอ้างอิง
[2] สุดารัตน์ ภิรมย์ ,2554. การจำลองสภาพน้ำท่วมด้วยแบบจำลอง HEC-RAS และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อบรรเทาอุทกภัยในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างโดยใช้แก้มลิง. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,2554 ,82 หน้า
[3] วีระยา มิ่งเมือง และ จิระวัฒน์ กณะสุด, 2555. การศึกษาแนวทางบรรเทาอุทกภัย กรณีศึกษาลุ่มน้ำมูลตอนบนในเขตจังหวัดนครราชสีมาด้วยแบบจำลอง Mike 11. การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9 ,1699-1705
[4] วีระยา มิ่งเมือง และ จิระวัฒน์ กณะสุด,2556. การศึกษาระบบช่วยตัดสินใจในการบริหารจัดการน้ำท่วม(พื้นที่ศึกษาจังหวัดนครราชสีมา). การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14, PMP18 , 416-425 [
[5] ปรียาพร โกษา, ปวีณา จันทร์ลา, ธนัช สุขวิมลเสรี และภาณุพงษ์ ทีฆบุญญา. 2562. การจำลองขอบเขตพื้นที่น้ำท่วมด้วยแบบจำลอง HEC-RAS และ MIKE FLOOD. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 24 วันที่ 10-12 กรกฎาคม 2562 ณ จังหวัดอุดรธานี
[6] ปวีณา จันทร์ลา และ ปรียาพร โกษา. 2563. การประเมินสภาพน้ำท่วมด้วยแบบจำลอง HEC-RAS กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง. วารสารวิชาการครุสาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2563.
[7] ปวีณา จันทร์ลา และ ปรียาพร โกษา 2561. การจำลองสภาพการไหลในแม่น้ำลำตะคองด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ HEC-RAS. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 วันที่ 18-21 กรกฎาคม 2561 ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อ.เมือง จ.นครนายก
[8] พรรคเชษฎ์ บุญธรรมกุล และ อุมา ศรีบุญเรือง. 2561. การศึกษาวิธีการปรับปรุงขีดความสามารถของแม่น้ำน้อยด้วยโปรแกรม HEC-RAS. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 วันที่ 18-21 กรกฎาคม 2561 ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อ.เมือง จ.นครนายก.
[9] ภัทราพร แสงทอง ปรียาพร โกษา และธนัช สุขวิมลเสรี. 2558. การประเมินปริมาณน้ำท่าด้วยแบบจำลอง SWAT กรณีศึกษาพื้นที่ลุ่มน้ำลำพระเพลิงตอนบน. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 วันที่ 8-10 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมเดอะชายน์ พัทยาเหนือ ชลบุรี.
[10] US Army Corp of Engineers,2011. HEC-GeoRAS GIS Tool for Support of HEC-RAS using ArcGIS, User’s Manual Version 4.3.93,244 page.
[11] US Army Corp of Engineers,2010. HEC-RAS River Analysis System, User’s Manual Version 4.1,766 page.
[12] US Army Corp of Engineers,2010. HEC-RAS, River Analysis System Application Guide Version 4.1,351 page.
[13] US Army Corp of Engineers,2010. HEC-RAS River Analysis System, Hydraulics Reference Manual Version 4.1,411 page.
[14] J. E. Nash and J. V. Sutcliffe, "River flow forecasting through conceptual models: Part 1. A discussion of principles," J. Hydrology, vol. 10, no. 3, pp. 282-290, 1970.
[15] D. P. Boyle, H. V. Gupta and S. Sorooshian, "Toward improved calibration of hydrologic models: Combining the strengths of manual and automatic methods," Water Resources Res., vol. 36, no. 12, pp. 3663-3674, 2000.
[16] K. Fricke, "Analysis and modelling of water supply and demand under climate change, land usa transformation and socio-economic development," Ph.D. dissertation, Institute of Geography, Heidelberg University, Germany, 2014.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์