การศึกษาพฤติกรรมของคนเดินเท้าบริเวณทางข้ามที่มีสัญญาณไฟ: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธนา น้อยเรือน หลักสูตรวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคคลล้านนา
  • พรภวิษย์ ตาจุมปา
  • ภูมิพิชญ์ จันทร์เทพ

คำสำคัญ:

คนเดินเท้า, ทางข้าม, สัญญาณไฟสำหรับคนเดินเท้า

บทคัดย่อ

คนเดินเท้าที่ข้ามถนนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากต่อการประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิต อัตราการเสียชีวิตโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดเป็น 13% ปัญหาอาจเกิดจากผู้คนไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร การศึกษาพฤติกรรมของคนเดินเท้าบริเวณทางข้ามที่มีสัญญาณไฟสำหรับคนเดินเท้า ในบริเวณเมืองเชียงใหม่ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบและวางแผนเวลาที่เหมาะสมของสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางข้ามสำหรับคนเดินเท้า เก็บข้อมูลความเร็ว และลักษณะการเดินของกลุ่มคนเดินเท้า ผลการศึกษาพบว่าความเร็วของคนเดินเท้าเพศชายมีความเร็วกว่าคนเดินเท้าเพศหญิง และคนเดินเท้าที่อยู่ในช่วงอายุเดียวกันจะมีความเร็วที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยความเร็วในการเดินบนทางข้ามทางเดินเท้าปกติเฉลี่ยในเพศชายและเพศหญิงอายุน้อยกว่า 18 ปี ระหว่าง 18 - 60 ปี และมากกว่า 60 ปี เท่ากับ 1.42, 1.30, 1.55, 1.50, 1.38 และ 1.37 m/s ตามลำดับ อัตราการไหลอิ่มตัวสูงสุดที่ทางข้ามถนนเท่ากับ 43 ped/m/s การประยุกต์ใช้แบบจำลองเสมือนจริงของยานพาหนะร่วมกับคนเดินเท้า พบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมของสัญญาณไฟที่อนุญาตให้คนเดินเท้าข้ามและช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมของสัญญาณไฟที่ปล่อยให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ ต้องเหมาะสมตามปริมาณของเดินเท้าและปริมาณจราจรในขณะนั้นที่ปริมาณประชากรคนเดินเท้า 500-1,000, 1,001-2,000 และ 2,001-3,000 ped/h ระยะเวลาเหมาะสมที่อนุญาตให้คนเดินเท้าข้ามทางคือ 10, 20 และ 30 วินาที และระยะเวลาเหมาะสมของสัญญาณไฟที่ปล่อยให้ยานพาหนะเคลื่อนที่คือ 240-300, 120-240 และ 30-120 วินาที ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
น้อยเรือน ธ. และคณะ 2020. การศึกษาพฤติกรรมของคนเดินเท้าบริเวณทางข้ามที่มีสัญญาณไฟ: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL37.