การศึกษาการซึมผ่านน้ำในคอนกรีตพรุนโดยใช้มวลรวมหยาบรีไซเคิล
คำสำคัญ:
มวลรวมรีไซเคิล, คอนกรีตพรุน, การดูดซึมน้ำ, กำลังอัด, ปริมาณโพรงบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการศึกษาการซึมผ่านน้ำในคอนกรีตพรุนโดยใช้มวลรวมหยาบรีไซเคิล จากการนำเศษวัสดุคอนกรีตเก่าเหลือทิ้งมาใช้เป็นมวลรวมหยาบในงานคอนกรีตพรุนแทนที่มวลรวมหยาบจากธรรมชาติ โดยการนำคอนกรีตเก่า(ลูกปูน) มาย่อยและคัดแยกขนาดเดียว (Single Grade) ได้มวลรวมหยาบรีไซเคิล 3 ขนาด ได้แก่ หินขนาด 1/2 นิ้ว, 3/8 นิ้ว และหินที่ค้างบนตะแกรงเบอร์ 4 ใช้ปริมาณซีเมนต์เพสต์ร้อยละ 10, 15 และ 20 โดยปริมาตร ที่อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (W/C Ratio) เท่ากับ 0.30 หล่อเป็นก้อนตัวอย่างรูปทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร ความสูง 20 เซนติเมตร ผลการทดสอบพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดของคอนกรีตขึ้นอยู่กับขนาดหินและปริมาณซีเมนต์เพสต์ โดยคอนกรีตพรุนจะมีกำลังรับแรงอัดอยู่ในช่วงระหว่าง 23-95 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งเป็นผลมาจากช่องว่างในมวลรวมหยาบของหินขนาดเดียวกัน อีกทั้งมีเพสต์เก่าและมอร์ตาร์เกาะติดอยู่ จึงทำให้ต้องใช้ปริมาณซีเมนต์เพสต์เคลือบผิวมากขึ้นและการดูดซึมน้ำเพิ่มมากขึ้นด้วย แต่มีช่องว่างของอัตราส่วนโพรงที่ดีซึ่งอยู่ในช่วงร้อยละ 25 - 37 ทำให้มีค่าการซึมผ่านน้ำได้มาก โดยมวลรวมหยาบรีไซเคิลขนาด 1/2 นิ้ว มีค่าการซึมผ่านน้ำได้มากที่สุดเท่ากับ 0.989 เซนติเมตรต่อวินาที ที่ปริมาณซีเมนต์เพสต์เท่ากัน
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
รัฐศักดิ์ พรหมมาศ และคณะ, 2560, “การพัฒนาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตพรุนโดยใช้จุลินทรีย์ ประสิทธิภาพเป็นส่วนผสม”, วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, ปีที่ 20, ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม, หน้า 75-84
วันชัย สะตะ และปริญญา จินดาประเสริฐ, “คอนกรีตพรุน : คอนกรีตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”, วารสารวิชาการสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, ฉบับที่ 29 ประจำเดือนธันวาคม 2559
วันชัย สะตะ และปริญญา จินดาประเสริฐ, การใช้เศษวัสดุเป็นมวลรวมหยาบในคอนกรีตพรุน, โครงการคณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556
สำเริง รักซ้อน และปริญญา จินดาประเสริฐ, การวิจัยด้านคอนกรีตพรุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, โครงการ ทุนอุดหนุนวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2558
นันทชัย ชูศิลป์, “หน่วยน้ำหนักและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตพรุนผสมกะลาปาล์มน้ำมัน” วารสารการ พัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต1, (1) : หน้า 97 – 106, ปี พ. ศ. 2556
Tijani, M.A., Ajagbe W.O., Ganiyu A.A., Agbede O.A., 2019, “Effect of Aggregate type on Properties of Pervious Concrete”, Journal of Modern Technology and Engineering, Vol. 4, No. 1, pp. 37-46
Tijani, M.A., Ajagbe W.O. and Agbede O.A., 2018, “Recycling Wastes for Sustainable Pervious Concrete Production”, Conference Paper-October 2018, NIEE CONFERENCE 2018 ,The Nigerian Institution of Environmental Engineers (NIEE)
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
##category.category##
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์