การศึกษาการปรับปรุงร่องน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา

ผู้แต่ง

  • กรชนก จำวัน ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จิระวัฒน์ กณะสุต ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แม่น้ำเจ้าพระยา, การขุดลอก, MIKE 21

บทคัดย่อ

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญในภาคกลาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการคมนาคม การขนส่งสินค้า และเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญเพื่อการเกษตรกรรม ในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์ครั้งนี้จึงมีความจำเป็นต้องการศึกษาหาแนวทางในการขุดลอกเพื่อการระบายน้ำ และบรรเทาน้ำท่วม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำลองสภาพการไหลในแม่น้ำด้วยแบบจำลองอุทกพลศาสตร์ MIKE 21 และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำกรณีก่อนและหลังจาการขุดลอกด้วยแบบจำลอง MIKE 21 แบบ Flexible Mesh ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่สถานีวัดน้ำท่า C.2 ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ไปจนถึงเขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และได้ทำการปรับเทียบแบบจำลองด้วยระดับน้ำด้านเหนือน้ำของประตูระบายน้ำ 4 แห่ง ในแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ปตร.มโนรมย์ ปตร.บรมธาตุ ปตร.พลเทพ และปตร.มหาราช ผลการศึกษาพบว่าหลังจากขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาระดับน้ำมีค่าลดลง และพื้นที่ส่วนใหญ่มีความเร็วและอัตราการไหลเพิ่มขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08