สมรรถนะของเสาเข็มกรวดซีเมนต์เถ้าลอยภายใต้การอัดตัวคายน้ำ

  • สุวิจักขณ์ วิรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • พิทยา แจ่มสว่าง
คำสำคัญ: การปรับปรุงคุณภาพดิน, ดินเหนียวอ่อน, เสาเข็มกรวดเถ้าลอยซีเมนต์, การทรุดตัวระบายน้ำ, แรงดันน้ำส่วนเกิน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ได้ทำการเพิ่มความแข็งแรงในดินเหนียวอ่อนซึ่งเป็นปัญหาหลักของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพ โดยใช้เสาเข็มกรวดเถ้าลอยซีเมนต์เพื่อปรับปรุงคุณภาพดินให้สามารถรองรับคันทางหรือโครงสร้างขนาดเล็กได้ ด้วยการใช้กรวดขนาด 4.75-19.50 มิลลิเมตร ผสมกับ เถ้าลอยและซีเมนต์ แล้วดำเนินการทดสอบโดยใช้แบบจำลองทางกายภาพในท่อ PVC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 300 มิลลิเมตร และ สูง 450 มิลลิเมตร กำหนดขนาดของเสาเข็มกรวดซีเมนต์เถ้าลอยที่ใช้ในการทดสอบมีขนาดความสูง 200 มิลลิเมตร ขนาดเสาเข็มมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 50, 75 และ 100 มิลลิเมตรวางในชั้นดินเหนียวอ่อน โดยผลการทดสอบพบว่าเมื่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเสาเข็มเพิ่มขึ้นส่งผลให้การทรุดตัวระบายน้ำมีค่าลดลงและใช้เวลาทรุดตัวระบายน้ำน้อยลง ในด้านความเค้นของดินจะลดลงแต่ความเค้นในเสาเข็มเพิ่มขึ้น  ในส่วนการศึกษาแรงดันน้ำส่วนเกินที่ระดับความสูงเดียวกันพบว่าที่รัศมีใกล้เสาเข็มมีค่าต่ำกว่าที่ไกลออกไปที่เวลาเดียวกัน และที่ระดับลึกต่างกันพบว่าจะมีค่าแรงดันน้ำสูงขึ้นตามระดับความลึกที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความเค้นที่ผิวดินสูงกว่าทำให้แรงดันน้ำด้านล่างสูงขึ้น จากการวิจัยสามารถสรุปผลได้ว่าเสาเข็มกรวดเถ้าลอยซีเมนต์ช่วยเพิ่มความความสามารถในการรับน้ำหนักของชั้นดิน และทำให้เกิดการทรุดตัวระบายน้ำลดลงตามขนาดเสาเข็มที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งเสาเข็มมีความพรุนทำให้ให้ระบายน้ำได้ดีส่งผลให้แรงดันน้ำส่วนเกินใกล้เสาเข็มจะต่ำกว่าที่ไกลออกไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

รายการอ้างอิง

Horpibulsuk, S., Chinkulkijniwat, A., Cholphatsorn, A., Suebsuk, J., & Liu, M. D. (2012). “Consolidation behavior of soil–cement column improved ground.” Computers and Geotechnics. 43 : 37–50.

Ni, P., Yi, Y., & Liu, S. (2020). Bearing capacity of composite ground with soil-cement columns under earth fills: Physical and numerical modeling. Soils and Foundations.
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09