เปรียบเทียบการหาค่าระดับสูงระหว่างวิธีรังวัดโครงข่ายดาวเทียมและวิธีการระดับตามลำแม่น้ำยม จังหวัดแพร่

  • ประกอบ มณีเนตร สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ภุชงค์ วงษ์เกิด
  • รณชัย บำเพ็ญอยู่
  • กฤษฎา มณีเนตร
  • อรุณยุพา บัวทรัพย์
คำสำคัญ: TGM2017, โครงข่ายดาวเทียม GNSS, RMSE

บทคัดย่อ

จากการได้มีโครงการพัฒนาแบบจำลองยีออยด์ความละเอียดสูงของประเทศไทยการหาค่าระดับสูงโดยวิธีการรังวัดโครงข่ายดาวเทียมได้ถูกนำมาใช้แทนที่วิธีการระดับแบบดั้งเดิมในโครงการนี้ได้มีการสร้างหมุดถาวรจำนวน 6 หมุดบนสะพานและบนดินตามลำแม่น้ำยม อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้มีการรังวัดหาค่าพิกัดภูมิศาสตร์ของหมุดถาวรด้วยวิธีสถิต โดยใช้เทคนิคการรังวัดแบบสัมพัทธ์โดยการรังวัดพร้อมกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง คำนวณหาค่ายีออยด์อันดูเลชันจากTGM2017 แล้วคำนวณหาค่าระดับสูงด้วยวิธีโครงข่ายดาวเทียมได้มีการรังวัดหาค่าระดับสูงด้วยวิธีการระดับโดยกล้องระดับแบบดิจิทัลเมื่อเปรียบเทียบค่าระดับสูงที่ได้จากการรังวัดทั้งสองวิธี ค่า RMSE จากการหาค่าระดับสูงวิธีโครงข่ายดาวเทียมGNSS ให้ผลเท่ากับหรือดีกว่า 12 mm√K หรือเกณฑ์งานระดับชั้นที่ 3 การหาค่าระดับวิธี GNSS จึงดีกว่าการหาค่าระดับสูงแบบการระดับสำหรับพื้นที่โครงการนี้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
มณีเนตรป., วงษ์เกิดภ., บำเพ็ญอยู่ร., มณีเนตรก. และ บัวทรัพย์อ. 2020. เปรียบเทียบการหาค่าระดับสูงระหว่างวิธีรังวัดโครงข่ายดาวเทียมและวิธีการระดับตามลำแม่น้ำยม จังหวัดแพร่. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI09.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้