การปรับปรุงวิธีการจำแนกพรรณไม้ในเมืองด้วยภาพถ่ายทางอากาศความละเอียดสูง ด้วยการใช้รูปตัดตามแนวลองจิจูด และข้อมูลเสริมจากการสำรวจด้วยไลดาร์ทางอากาศ

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ รักษาล้ำ ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์
  • ชัยโชค ไวภาษา

คำสำคัญ:

การจำแนกพรรณไม้, เมือง, ไลดาร์, รูปตัดตามแนวลองจิจูด, ภาพถ่ายทางอากาศ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันโลกให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการบริหารจัดการและติดตามต้นไม้ในเขตเมืองที่ยั่งยืนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากต้นไม้ให้ประโยชน์อย่างมากในทุกด้านไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม และปัจจุบันการอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าปัจจุบันประเทศไทย มีพื้นที่สีเขียวเฉลี่ยต่อคนต่ำกว่ามาตราฐาน ดังนั้นการศึกษาเรื่องการกระจายตัวของต้นไม้ และการจำแนกพรรณไม้ในพื้นที่เมืองจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงวิธีการจำแนกพรรณไม้ในเมืองด้วยภาพถ่ายทางอากาศ DMC ด้วยวิธีการจำแนกแบบต้นไม้ตัดสินใจ (Decision Tree) โดยใช้รูปตัดตามแนวลองจิจูด (Longitudinal Profiles) และข้อมูลเสริมจากการสำรวจด้วยไลดาร์ (LiDAR) ทางอากาศ ในพื้นที่ศึกษาบริเวณสวนสาธารณะสวนหลวง ร.9 กรุงเทพมหานคร พบว่าวิธีการดังกล่าวสามารถจำแนกต้นไม้ที่มีความซับซ้อน ในลักษณะต้นเดี่ยวและกลุ่มได้จริง โดยให้ค่าความถูกต้องโดยรวม (Overall Accuracy) 83.34 % และมีค่าสถิติแค็ปปา (Kappa Statistics) 0.833 ขึ้นไป ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการจำแนกต้นไม้ในเมืองพื้นที่อื่นๆ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นไม้ในเมืองในเขตร้อนชื้นให้ดียิ่งขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
รักษาล้ำ ส. และ ไวภาษา ช. 2020. การปรับปรุงวิธีการจำแนกพรรณไม้ในเมืองด้วยภาพถ่ายทางอากาศความละเอียดสูง ด้วยการใช้รูปตัดตามแนวลองจิจูด และข้อมูลเสริมจากการสำรวจด้วยไลดาร์ทางอากาศ. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), SGI21.