การสร้างแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่าสำหรับน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่เมืองบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
น้ำท่วมฉับพลัน, น้ำท่วมในเมือง, แบบจำลองอุทกวิทยา, QGIS, การเตือนภัยน้ำท่วมบทคัดย่อ
น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่เมืองเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่น้ำท่วมฉับพลันมีสาเหตุมาจากฝนตกหนัก ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณน้ำฝนส่วนเกิน
ไม่กี่ชั่วโมง จึงมีเวลาสั้นมากในการเตือนภัย ส่งผลให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างมาก น้ำท่วมฉับพลันในเมืองบ้านไผ่ในลุ่มน้ำห้วยจิก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2562 ได้ถูกนำมาศึกษา ซึ่งการศึกษานี้มีความท้าทายเพราะไม่มีสถานีตรวจวัดน้ำท่าในพื้นที่ศึกษา วัตถุประสงค์หลักของการศึกษา คือ การสร้างแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า เพื่อประเมินปริมาณและระยะเวลาการเกิดน้ำท่วมสูงสุด การสร้างแบบจำลองโดยใช้โปรแกรม QGIS ช่วยในการประมาณค่าพารามิเตอร์จากแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข, แผนที่การใช้ที่ดิน และแผนที่ลักษณะของดิน สำหรับการสอบเทียบแบบจำลองใช้ข้อมูลตรวจวัดปริมาณน้ำฝนรายชั่วโมงถูกคำนวณเปลี่ยนเป็นปริมาณน้ำท่าสังเคราะห์ โดยที่ปริมาณน้ำท่าสังเคราะห์นี้เปรียบเทียบกับค่าประมาณปริมาณน้ำท่าที่จุดออกของลุ่มน้ำห้วยจิก ซึ่งประมาณค่านี้จากโค้งปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำแก่งละว้า ผลการศึกษาพบว่าแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่าสามารถคำนวณปริมาณและระยะเวลาการเกิด
น้ำท่วมสูงสุดเป็นที่ยอมรับได้ สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม จะนำการวิเคราะห์และการออกแบบปริมาณน้ำฝนมาร่วมสร้างแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนระบบเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้า
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์