การวิเคราะห์ผลของการผันแปรอุณหภูมิ ต่อกำลังต้านทานการวิบัติของวัสดุโครงสร้างทางเดิมปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชัน

ผู้แต่ง

  • สิริกมล สายน้ำเย็น ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมขนส่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บุญชัย แสงเพชรงาม

คำสำคัญ:

บิทูเมนอิมัลชัน, วัสดุปรับปรุงด้วยบิทูเมน, การผันแปรอุณหภูมิต่อวัสดุปรับปรุงด้วยบิทูเมน

บทคัดย่อ

วัสดุที่ได้รับการปรับปรุงด้านความเชื่อมแน่นด้วยบิทูเมนอิมัลชัน และ/หรือซีเมนต์ ภายใต้หน่วยแรงกระทำเท่ากันจะมีคุณสมบัติเชิงกลด้านกำลังต้านทานการวิบัติมากกว่าวัสดุไม่เชื่อมแน่นหลายเท่า ทำให้อายุการใช้งานยาวนานขึ้น ทั้งนี้บางการศึกษาไม่ได้คำนึงถึงการผันแปรอุณหภูมิในขณะที่ทำการทดสอบ ซึ่งอุณหภูมิเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงพฤติกรรมเชิงกลด้านกำลังต้านทานการวิบัติ ที่มีความสำคัญร่วมกับปัจจัยอื่น ในการศึกษาด้านกำลังต้านทานแรงเฉือนของวัสดุปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชันแบบผสมเย็น จะใช้การทดสอบกำลังต้านทานแรงเฉือนโดยไม่มีแรงดันล้อมรอบ อัตราส่วนของโครงสร้างชั้นผิวทางเดิมต่อโครงสร้างชั้นพื้นทางเดิม เป็นร้อยละ 25 ต่อ ร้อยละ 75 วัสดุโครงสร้างทางเดิมปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชัน 2% และ 3% โดยน้ำหนัก, ใช้/ไม่ใช้ ซีเมนต์เป็นสารผสมเพิ่ม, ระดับอุณหภูมิ 30, 40 และ 50 องศาเซลเซียส ผลของการศึกษาทำให้ทราบถึงความสอดคล้องของปัจจัยที่ได้กล่าวมา นั่นคือ ระดับอุณหภูมิ ปริมาณบิทูเมนอิมัลชัน และปริมาณซีเมนต์ ที่จะส่งผลถึงกำลังต้านทานแรงเฉือนของวัสดุ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
สายน้ำเย็น ส. และ แสงเพชรงาม บ. 2020. การวิเคราะห์ผลของการผันแปรอุณหภูมิ ต่อกำลังต้านทานการวิบัติของวัสดุโครงสร้างทางเดิมปรับปรุงด้วยบิทูเมนอิมัลชัน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), TRL20.