การหาความสัมพันธ์ระหว่างผลทดสอบตอกหยั่งแบบเบา กับ การตอกทดสอบมาตรฐาน ด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติจากฐานข้อมูลการทดสอบจริงในสนาม เพื่อใช้ในงานออกแบบฐานรากระดับตื้น

  • ธนกฤต โรจนชัยศรี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฐิรวัตร บุญญะฐี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ: การเจาะสำรวจดินระดับตื้น, การทดสอบตอกหยั่งแบบเบา, การวัดพลังงาน

บทคัดย่อ

การออกแบบทางวิศวกรรมปฐพีทุกชนิดจำเป็นจะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานต่างๆเพื่อใช้เป็นสมมุติฐานหรือเงื่อนไขในการออกแบบ ข้อมูลพื้นฐานอันหนึ่งซึ่งจำเป็นต่อการออกแบบได้แก่ ภาคตัดของดิน ซึ่งแสดงถึงประเภทและคุณสมบัติของดิน ณ ความลึกระดับต่างๆ ในปัจจุบันมักจะดำเนินการทดสอบด้วยวิธีการตอกทดสอบมาตรฐาน(SPT) อย่างไรก็ตามการทดสอบแบบนี้เหมาะสำหรับดำเนินการในบริเวณที่รถยนต์สามารถเข้าถึงได้เพราะต้องขนอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากและมีค่าใช้จ่ายในการขนย้ายสูง ในกรณีที่ต้องการสำรวจในช่วงความลึกไม่มากหรือ ต้องการสำรวจเพียง 2~3 ตำแหน่งต่อการขนย้ายหนึ่งครั้ง อาจใช้วิธีการอื่นๆ ที่ทำได้สะดวกว่า เช่น วิธีการทดสอบตอกหยั่งแบบเบา (DPL, EN ISO 22476) ซึ่งอุปกรณ์มีน้ำหนักเบาและสามารถขนย้ายด้วยจำนวนคน 1~2 คน ในการศึกษานี้ได้ทำประเมินอิทธิพลจากแรงเสียดทานระหว่างก้านเจาะกับชั้นดินโดยรอบว่ามีผลต่อค่าตรวจวัดตามวิธีการตอกหยั่งแบบเบาอย่างไร โดยผู้ศึกษาได้ทำการวัดพลังงานระหว่างการตอกในช่วงความลึกต่างๆ เปรียบเทียบกับพลังงานบนผิวดิน เพื่อนำไปปรับปรุงสมการสหสัมพันธ์ระหว่างผลการตอกทดสอบมาตรฐานและผลการทดสอบตอกหยั่งแบบเบาให้ดีขึ้นต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
โรจนชัยศรีธ. และ บุญญะฐีฐ. 2020. การหาความสัมพันธ์ระหว่างผลทดสอบตอกหยั่งแบบเบา กับ การตอกทดสอบมาตรฐาน ด้วยการวิเคราะห์ทางสถิติจากฐานข้อมูลการทดสอบจริงในสนาม เพื่อใช้ในงานออกแบบฐานรากระดับตื้น. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), GTE22.

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้