การจำลองระบบล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิง ในพื้นที่เฝ้าระวัง สำนักงานประปาสาขาทุ่งมหาเมฆ การประปานครหลวง

ผู้แต่ง

  • สกุณี พัฒนโภครัตนา ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สุรชัย ลิปิวัฒนาการ สาขาวิชาทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรสาสตร์
  • อดิชัย พรพรหมินทร์ สาขาวิชาทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรสาสตร์

คำสำคัญ:

การล้างเส้นท่อ, โครงข่ายท่อ, น้ำประปา

บทคัดย่อ

การประปานครหลวงได้กำหนดมาตรการในการล้างเส้นท่อในพื้นที่เฝ้าระวังอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำประปาขุ่นและค่าคลอรีนอิสระคงเหลือไม่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาถึงขอบเขตเส้นท่อที่ถูกล้างและระยะเวลาในการเปิดหัวดับเพลิงที่เหมาะสม ดังนั้นการจำลองระบบการล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิง สามารถใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมทางด้านชลศาสตร์ของกระบวนการดังกล่าว

      งานวิจัยนี้ได้ทำการจำลองระบบการล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิงในพื้นที่เฝ้าระวัง 05-05-05 ของสำนักงานประปาสาขาทุ่งมหาเมฆ ด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ EPANET โดยได้ทำการวัดแรงดันน้ำในพื้นที่เฝ้าระวังทั้งหมด 3 จุดเป็นระยะเวลา 5 วัน และเปิดน้ำล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิงเพื่อจำลองกระบวนการล้างเส้นท่อ ผลการจำลองระบบการล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิงสามารถแสดงขอบเขตอิทธิพลของการระบายน้ำล้างเส้นท่อที่มีผลกระทบต่อค่าแรงดันน้ำที่ลดลง และทำให้ทราบว่าระยะเวลาในการระบายน้ำล้างเส้นท่อไม่มีผลต่อค่าคลอรีนอิสระคงเหลือแต่เป็นการดึงน้ำใหม่เข้ามาในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น  ปัจจัยที่สำคัญในการล้างเส้นท่อให้มีประสิทธิภาพคือ ความเร็วการไหลในเส้นท่อต้องไม่น้อยกว่า 0.91 เมตร/วินาที ตามมาตรฐาน AWWA standard ANSI/AWWA C651-14 [1] ซึ่งผลการจำลองสามารถแสดงค่าความเร็วการไหลในระบบโครงข่ายท่อ ทำให้สามารถประเมินประสิทธิภาพของการล้างเส้นท่อได้ และสามารถนำแบบจำลองที่ได้ไปกำหนดแผนการระบายน้ำล้างเส้นท่อที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08

วิธีการอ้างอิง

[1]
พัฒนโภครัตนา ส. และคณะ 2020. การจำลองระบบล้างเส้นท่อผ่านหัวดับเพลิง ในพื้นที่เฝ้าระวัง สำนักงานประปาสาขาทุ่งมหาเมฆ การประปานครหลวง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), WRE10.

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##