การจัดการเศษวัสดุในโครงการก่อสร้างอาคารสูง: กรณีศึกษาโครงการแอสค็อตแอมบัสซี่สาทร
กรณีศึกษา โครงการแอสค็อตแอมบัสซี่สาทร
คำสำคัญ:
อาคารสูง, เศษวัสดุก่อสร้าง, สิ่งแวดล้อม, การจัดการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดเศษวัสดุในการก่อสร้างอาคารสูง และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา โครงการ แอสค็อตแอมบัสซี่สาทร กรุงเทพมหานคร เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้เกิดเศษวัสดุ ประเภทของเศษวัสดุ ปริมาณการเกิดเศษวัสดุ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และพัฒนาสมการการประเมินเศษวัสดุจากการก่อสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคคลในโครงการก่อสร้าง กลุ่มที่ 2 ประชาชนในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และลงสำรวจภาคสนาม เพื่อประกอบการทำวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ความสำคัญที่มีผลทำให้เกิดเศษวัสดุมากที่สุดคือ ปัจจัยที่เกิดจากลักษณะของงานแต่ละประเภท เศษวัสดุที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ เศษคอนกรีต สมการประเมินเศษวัสดุจากการก่อสร้างอาคารสูงที่พัฒนา แทนค่าจะได้ Wtotal = 1.2076 กก./(ตร.ม.-เดือน) หรือเท่ากับ 4.50 ตัน/เดือน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมากที่สุดจากการก่อสร้างอาคารสูงนี้คือ ฝุ่นละอองกระจายในชั้นบรรยากาศ สำหรับแนวทางการลดเศษวัสดุที่เกิดจากตัวบุคคล คือ มีการอบรมช่างให้มีความชำนาญงาน กำกับดูแลการใช้วัสดุให้พอดีกับงาน ส่วนแนวทางการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีการติดตั้งแผ่นกันฝุ่น และเสียงบริเวณรอบโครงการ มีการจัดเก็บเศษวัสดุไปยังกองเก็บอย่างมีประสิทธิภาพง่ายต่อการกำจัด
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานเขตสาทร, 2559
บริษัท เอเอช-เอสพีวี 2 จำกัด. รายงานผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมโครงการแอสค็อตแอมบัสซี่สาทร, 2562
โชคดี ยี่แพร่. (2554). การจัดการขยะจากการก่อสร้างเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 9, ฉบับที่ 1.
Karim, K., & Marosszeky, M. (1999). Waste minimization in comercial construction: A handbook for training of supervisors. Australian Center for Construction Innovation, New South Wales.
Faniran, O. O., & Caban, G. (1998). “Minimizing waste on construction Project sites.”, Engineering Construction and Architectural Management, 5(2), pp.182-188
จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. วารบัณฑิตศึกษา, ปีที่ 12 ฉบับที่ 58, หน้า 13-24
ฐานิช มะลิลา. (2561). ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดเศษวัสดุในการก่อสร้างรถไฟฟ้า และความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-คูคต สถานีสะพานใหม่. (การค้นคว้าอิสระวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์.
สุพัตรา ทองบุญ. (2561). ศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดเศษวัสดุ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในงานก่อสร้าง กรณีศึกษา อาคารการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี. (การค้นคว้าอิสะวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์.
จิรานุวัฒน์ จันทร์จร. (2545). การศึกษาแนวทางการจัดการเศษสิ่งก่อสร้างในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
วีรยุทธ์ สุขเพชร. (2556). การศึกษาการจัดการเพื่อลดเศษวัสดุในโครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัย กรณีศึกษา โครงการ สมูท เรสซิเดนท์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์.
วิจิตรา แสนกุดเลาะ. (2559). การจัดการเศษวัสดุและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายบางซื่อ-รังสิต: กรณีศึกษา สถานีดอนเมือง. (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์.
ไผท ผดุงถิ่น. (2561). เจาะทิศทางก่อสร้างไทยปี2562.สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562, จาก https://kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Thai-Construction-Direction_2019.pdf
กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2562, จากhttp://infofile.pcd.go.th/waste/wsthaz_annual59.pdf
วิจิตร บุณยะโหตระ. (2542). ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562,
จากhttps://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subwater/sub.htm
สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2561). ความหมายของขยะมูลฝอย. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2562, จากhttps://www.tci-thaijo.org/index.php
สุมนา อยู่โพธิ์. (2560). สาเหตุของปัญหาการก่อสร้างที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม
2562, จากhttp://www.nhconcept.com
กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. (2552). การวิจัยทางการพยาบาล : แนวคิด หลักการ และวิธีการปฏิบัติ. นนทบุรี : สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561, https://koha.library.tu.ac.th/bib/603026
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์