A study of the energy reduction of flow through concrete and natural rubber tetrapods

ผู้แต่ง

  • Watusiri Suwannarat ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • Duangrudee Kositgittiwong
  • Chaiwat Ekkawatpanit
  • Rachapol Sukjan

คำสำคัญ:

ยางพารา, ทรงสี่ขาสมมาตร, การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง, การป้องกันการกัดเซาะ, การควบคุมการกัดเซาะ

บทคัดย่อ

ยางพาราเป็นวัสดุที่ใช้กันมาอย่างแพร่หลายซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้านวิศวกรรมอย่างยาวนาน แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังคงประสบปัญหายางพาราราคาตก และปัญหายางพาราล้นตลาด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตยางพาราเป็นอย่างมาก แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศอันดับต้น ๆในการผลิตและส่งออกยางพารา แต่ยังคงประสบกับปัญหาเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษาการนำยางพารามาประยุกต์ใช้ในงานด้านการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและแม่น้ำอันเนื่องมาจากคุณสมบัติพิเศษของยางพาราที่สามารถนำมาใช้ในการป้องกันการกัดเซาะได้รวมถึงเพิ่มมูลค่าสินค้าของยางพาราอีกด้วย โดยวิธีการศึกษาของงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมของน้ำที่ไหลผ่านก้อนคอนกรีตและยางพาราทรงสี่ขาสมมาตรในห้องปฏิบัติการชลศาสตร์ โดยการศึกษานี้ดำเนินการในรางชลศาสตร์ ( ยาว 12 เมตร, กว้าง 0.6 เมตร และ สูง 0.8 เมตร) ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล่าธนบุรี การวิจัยนี้ได้มีการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการลดพลังงานน้ำที่ไหลผ่านคอนกรีตและยางพาราทรงสี่ขาสมมาตร ซึ่งจากผลการทดลองพบว่ายางพาราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานด้านการป้องกันการกัดเซาะได้ โดยก้อนยางพาราสามารถสลายพลังงานน้ำที่ไหลผ่านได้เช่นกันเมื่อเทียบกับก้อนคอนกรีต และยิ่งไปกว่านั้นยางพาราเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ดังนั้นจึงควรนำมาใช้เป็นวัสดุที่ยึดกับสิ่งก่อสร้างเพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายได้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้หวังว่าจะเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ยางพาราเพื่อสามารถนำมาป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและแม่น้ำ รวมถึงแก้ปัญหายางพาราล้นตลาดในอนาคตได้อีกด้วย

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-08