การหาปริมาณน้ำไหลเข้ากว๊านพะเยาโดยใช้โปรแกรม IFAS บนหลักการแบบจำลองถังร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  • เปรม เชิดโชติกานต์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชูโชค อายุพงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำสำคัญ: ปริมาณน้ำไหลเข้า, IFAS(Integrated Flood Analysis System)), แบบจำลองถัง 2 ชั้น, กว๊านพะเยา

บทคัดย่อ

กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำสำคัญในเขตตัวเมืองของจังหวัดพะเยา มีพื้นที่รับน้ำ 1227 ตารางกิโลเมตรแต่มีความจุเก็บกักแค่ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีลำน้ำไหลเข้ากว๊าน 13 สาย และไหลออกจากกว๊านเพียง 1 สายเท่านั้น จึงมักเกิดอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจรอบกว๊านอยู่เป็นประจำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณน้ำจากลุ่มน้ำสาขาที่ไหลเข้ากว๊านพะเยาโดยใช้โปรแกรม IFAS (Integrated Flood Analysis System) บนหลักการแบบจำลองถัง 2 ชั้น ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยใช้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากสถานีวัดน้ำฝน 8 สถานี และข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ และได้แบ่งลุ่มน้ำสาขาของกว๊านพะเยาออกเป็นลุ่มน้ำย่อย 6 ลุ่มน้ำ โดยเป็นลุ่มน้ำสาขาที่มีสถานีวัดน้ำท่าติดตั้งอยู่จำนวน 3 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ลุ่มน้ำอิงตอนบน ลุ่มน้ำแม่ต๋ำ และลุ่มแม่ต๊ำ จึงสามารถนำข้อมูลน้ำท่าที่วัดได้จากสถานีวัดดังกล่าวมาสอบเทียบกับค่าของแบบจำลองจากโปรแกรม โดยทำการปรับค่าพารามิเตอร์จำเพาะของลุ่มน้ำต่างๆตามลักษณะการใช้ที่ดิน ได้แก่ SKF(Final Infiltration Capacity) , SNF(Roughness Coefficient of Ground Surface) และAUD(Regulation Coefficient of Rapid Intermediate Outflow) เมื่อได้พารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับลุ่มน้ำที่มีสถานีวัดน้ำทั้งสามแล้วจึงนำค่าพารามิเตอร์ชุดดังกล่าวไปใช้กับลุ่มน้ำที่ไม่มีสถานีวัดปริมาณน้ำ โดยเลือกชุดพารามิเตอร์ของลุ่มน้ำที่มีลักษณะภูมิประเทศและการใช้ที่ดินที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งการมีอยู่ของโครงสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขา แล้วจึงทำการหาปริมาณน้ำท่ารายชั่วโมงและรายวันจากแต่ละลุ่มน้ำสาขาที่ไหลเข้าสู่กว๊านพะเยาเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญสนับสนุนการตัดสินใจปล่อยน้ำจากกว๊านโดยไม่ให้เกิดน้ำท่วมกระทบกับพื้นที่เศรษฐกิจรอบกว๊าน

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-08
How to Cite
[1]
เชิดโชติกานต์เ. และ อายุพงศ์ช. 2020. การหาปริมาณน้ำไหลเข้ากว๊านพะเยาโดยใช้โปรแกรม IFAS บนหลักการแบบจำลองถังร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), WRE03.