กรณีศึกษาการปฏิบัติตามมาตรฐานการตรวจสอบ การประเมิน การซ่อมแซม และการเสริมความมั่นคงแข็งแรง โครงสร้างอาคารเก่า และโครงสร้างอาคารที่เสียหาย

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ รามจันทร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาคาร สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง
  • วงศกร พงษ์ภักดี
  • ทยากร จันทรางศุ

คำสำคัญ:

การตรวจสอบ, การประเมิน, การซ่อมแซม, การเสริมความมั่นคงแข็งแรง, โครงสร้างอาคาร

บทคัดย่อ

กรมโยธาธิการและผังเมืองได้มีการจัดทำมาตรฐานการตรวจสอบ การประเมิน การซ่อมแซม และการเสริมความมั่นคงแข็งแรง โครงสร้างอาคารเก่า และโครงสร้างอาคารที่เสียหาย (มยผ. 1902-62) ขึ้น โดยบทความนี้จะเป็นกรณีศึกษาการตรวจสอบ การประเมิน และแนะนำวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างอาคารที่เสียหายตามแนวทางของมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งจะแสดงผลการดำเนินการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร การประเมินระดับ ความเสียหายของโครงสร้างอาคารตามสมรรถนะโครงสร้าง และแนะนำวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร สำหรับการดำเนินการดังกล่าว จะมีกรณีศึกษา 3 กรณี ได้แก่ โครงสร้างอาคารที่ทรุดตัว โครงสร้างที่เสียหายเนื่องจากคลอไรด์ และโครงสร้างอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ จากผลการตรวจสอบ การประเมิน และแนะนำวิธีการซ่อมแซมโครงสร้างอาคาร โดย 3 กรณีศึกษา พบว่ากรณีโครงสร้างอาคารที่ทรุดตัว มีความปลอดภัยในการใช้งาน แต่ต้องดำเนินการซ่อมแซมและเสริมความมั่งคงแข็งแรง เพื่อให้สามารถใช้งานอาคารได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น กรณีโครงสร้างที่เสียหาย เนื่องจากคลอไรด์ จะต้องระงับการใช้งานอาคาร เพื่อซ่อมแซมโครงสร้างส่วนที่เสียหาย กรณีโครงสร้างอาคารที่ถูกเพลิงไหม้ไม่สามารถใช้งานอาคารได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะต้องระงับการใช้งานอาคาร เพื่อดำเนินการรื้อถอนต่อไป โดยผลจากการตรวจสอบ การประเมิน และแนะนำการซ่อมแซม สามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติได้ กรณีที่พบโครงสร้างที่เสียหายในลักษณะดังกล่าว

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-07-09

วิธีการอ้างอิง

[1]
รามจันทร์ ส. และคณะ 2020. กรณีศึกษาการปฏิบัติตามมาตรฐานการตรวจสอบ การประเมิน การซ่อมแซม และการเสริมความมั่นคงแข็งแรง โครงสร้างอาคารเก่า และโครงสร้างอาคารที่เสียหาย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), STR30.