ผลตอบสนองต่อแรงลมของอาคารหน้าตัดรูปวงกลมและวิธีการลดผลตอบสนอง โดยใช้มวลหน่วงปรับค่าและมวลน้ำหน่วงปรับค่า

  • พัฒน์ศิริ ใจก้าวหน้า ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิโรจน์ บุญญภิญโญ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การควบคุมการสั่นไหว, มวลหน่วงปรับค่า, มวลน้ำหน่วงปรับค่า, การตอบสนองต่อแรงลมของหอรูปทรงกลม

บทคัดย่อ

หอสูงหน้าตัดวงกลมเป็นอาคารที่มีรูปร่างอ่อนแอซึ่งมีการตอบสนองต่อแรงลมอย่างมาก การสั่นไหวของอาคารจากแรงลมอาจรบกวนความสบายของผู้อยู่อาศัยและสร้างความเสียหายต่อองค์อาคารที่ไม่ใช่โครงสร้าง จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมการสั่นสะเทือนที่เรียกกันว่า Dampers เพื่อช่วยควบคุมการตอบสนองของโครงสร้างต่อแรงสั่นไหว โดยการเพิ่มความหน่วงเทียบเท่าให้กับระบบโครงสร้างโดยรวม ซึ่งมีข้อดีกว่าวิธีการออกแบบทั่วไปคือ ลดการสิ้นเปลืองวัสดุโครงสร้างและไม่กระทบการออกแบบส่วนอื่น ๆโดยงานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาเพื่อหาสมการคำนวณโดยประมาณสำหรับการออกแบบพารามิเตอร์ที่เหมาะสมของ อุปกรณ์ประเภทมวลหน่วง 2 ชนิดได้แก่ มวลหน่วงปรับค่า(TMD) และมวลน้ำหน่วงปรับค่า (TLD) และประเมินอัตราหน่วงที่เทียบเท่าของโครงสร้างที่ได้เพิ่มขึ้นจากการติดตั้งอุปกรณ์ ทำการออกแบบโครงสร้างกับตัวอย่างศึกษาคือ หอชมเมืองแห่งหนึ่ง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการออกแบบโครงสร้างโดยใช้ Dampers เปรียบเทียบกับวิธีการทั่วไป ซึ่งผลวิจัยพบว่าการออกแบบโครงสร้างโดยใช้อุปกรณ์ สามารถลดปริมาณงานก่อสร้างลงได้อย่างชัดเจน

 

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2020-07-09
How to Cite
[1]
ใจก้าวหน้าพ. และ บุญญภิญโญว. 2020. ผลตอบสนองต่อแรงลมของอาคารหน้าตัดรูปวงกลมและวิธีการลดผลตอบสนอง โดยใช้มวลหน่วงปรับค่าและมวลน้ำหน่วงปรับค่า. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25. 25, (ก.ค. 2020), STR04.