การเปรียบเทียบการประมาณระยะเวลากิจกรรมงานก่อสร้างแบบ PERT โดยกลุ่มตัวอย่างบริษัทสมาชิกสามัญของสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
คำสำคัญ:
การประมาณระยะเวลา, กิจกรรมงานก่อสร้าง, ปัจจัยที่ส่งผลกระทบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการประมาณระยะเวลากิจกรรมงานก่อสร้าง โดยใช้วิธี PERT เพื่อสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือ (reliability) ของทฤษฏี และการจัดระดับความสำคัญของปัจจัย ที่มีผลกระทบต่อการประมาณระยะเวลา กลุ่มตัวอย่างคือผู้วางแผนจากบริษัทรับสร้างบ้าน ที่เป็นสมาชิกสามัญของสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม โดยจำลองโครงการก่อสร้างบ้านพักอาศัย 1 ชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอย 80 ตร.ม. ประกอบด้วย 20 กิจกรรม ให้ผู้วางแผนประมาณระยะเวลาแต่ละกิจกรรมด้วยวิธี PERT และให้ระบุระดับความสำคัญของปัจจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) 2) การจัดเรียงระดับความสำคัญ (Likert Ranking Scale) ผลการวิจัยพบว่า (1) ระยะเวลาแผนงานที่น้อยที่สุดและมากที่สุด ต่างกันเท่ากับ 43.25 วัน หรือประมาณ 1 เดือน 13 วัน (2) ค่าความน่าจะเป็นของแผนงานที่โครงการจะแล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ที่ต่ำที่สุดและสูงที่สุด ต่างกันเท่ากับ 99.99 % (3) กิจกรรมที่ผู้วางแผนประมาณระยะเวลาต่างกันมากที่สุด คือ กิจกรรมงานฉาบผนัง (4) ค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญของปัจจัยสูงสุด จากทุกกิจกรรม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1.ทักษะฝีมือช่าง 2.สภาพอากาศ 3.สภาพหน้างาน 4.วัสดุ 5.การขนส่ง 6.เครื่องจักร 7.อุบัติเหตุในการทำงาน
Downloads
เอกสารอ้างอิง
ประเสริฐ ดำรงชัย. (2552). การวางแผนงานก่อสร้าง. พิมพ์ครั้งที่ 1. ศูนย์บริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไป:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พงศ์เทพ วรัตถ์กูล. (2553). การศึกษาการใช้ระบบจำลองสถานการณ์ในการวางแผนงานก่อสร้าง.การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโครงการก่อสร้าง ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.: 70-71.
พงศธร ฐานิตสรณ และ จีราภรณ์ สุธัมมสภา. (พฤศจิกายน 2560). การประเมินเวลาที่เหมาะสมด้วยเทคนิค PERT / CPM ในการบริหารโครงการบํารุงรักษาเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าแบบกังหันก๊าซ รุ่น SGT5-4000F กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 7. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
วชรภูมิ เบญจโอฬาร. (2553). การบริหารงานก่อสร้าง, เอกสารประกอบการสอนวิชาการบริหารงานก่อสร้าง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. พิมพ์ครั้งที่ 5.180 หน้า.
วิโรจน์ วงศ์ธัญลักษณ์. (2539). การศึกษาการประมาณเวลาสำหรับงานก่อสร้างอาคาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารงานก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.: 50-52.
วิสาข์ แฝงเวียง. (2552). แนวทางการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์เพื่อการเรียนรู้การบริหารโครงการก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจอง สุขประเสริฐ. (2559). การประยุกต์เทคนิค PERT/CPM ในการจัดการกิจกรรมในงานก่อสร้างบ้านจัดสรร. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.: 94-96.
Ersahin, T., McCabe, B., and Doyle, M. (2003, March). Monte Carlo Simulation Analysis at Lester B Pearson International Airport Development Project. Construction Research Congress: Wind of Change: Integration and Innovation of Construction. (pp.1-8).
Hawaii : Construction Research Congress
Ireland, V. (1985). The role of managerial action in cost, time and quality performance of high-rise commercial building project. Journal of Construction Engineering and Management 3.: 59-87
Nkado, R.N. (1992). Construction time information system for the building industry. Journal of Construction Engineering and Management 10.:489-509
Sadashiv, M.C.(1979). Pre-design Determination of Project Duration and Cost. Master's thesis, Asian Institute of technology. อ้างถึงใน วิโรจน์ วงศ์ธัญลักษณ์. (2539). การศึกษาการประมาณเวลาสำหรับงานก่อสร้างอาคาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารงานก่อสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.: 6.
Toor, S.R. and Ogunlana, S.O. (2008) Problems causing delays in major construction projects in Thailand, Construction Management and Economics 26(4), 395-408.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
##category.category##
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์