การปรับปรุงวัสดุกากแอสฟัลต์คอนกรีตเพื่อใช้ทดแทนหินคลุกสำหรับชั้นรองพื้นทาง กรณีศึกษา กากแอสฟัลต์คอนกรีตถนนสาย 418 สายงาแม่–ท่าสาป จังหวัดปัตตานี

  • วรท บุญสิงห์ แผนกวิชาช่างก่อสร้างและโยธา วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร
  • รุ่งรวิน ไชยมุสิก แผนกวิชาช่างก่อสร้าง-โยธา วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 จ.ปัตตานี
  • กิติศักดิ์ กาญจนันท์ แผนกวิชาช่างก่อสร้าง วิทยาลัยเทคนิคสตูล สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 จ.สตูล
  • ฆนากานต์ มาศโอสถ บริษัท ซอยล์เทสติ้งสยาม จำกัด จ.กรุงเทพมหานคร
  • ชัชฎาภัทร ไชยชนะ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  • สรธัญ ระโซ๊ะโซ๊ะ
คำสำคัญ: กากแอสฟัลต์คอนกรีต, การปรับปรุงคุณภาพวัสดุงานทาง, ทดแทนหินคลุก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษาคุณสมบัติกากแอสฟัลต์ของถนนคอนกรีตถนนสาย 418 งาแม่–ท่าสาป อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อปรับปรุงวัสดุกาก แอสฟัลต์คอนกรีตเพื่อใช้ทดแทนหินคลุก ทดลองโดยแบ่งอัตราส่วนระหว่าง กากแอสฟัลต์คอนกรีตกับหินคลุกเป็น 6 อัตราส่วนผสม ได้แก่ 100:0, 70:30, 60:40, 50:50, 40:60 และ 30:70 ทำการทดสอบคุณสมบัติด้วย Sieve Analysis, Atterberg Limits, Abrasion Test, Compaction Test, California Bearing Ratio Test พบว่าอัตราส่วนผสม 70:30 มีขนาดคละ อยู่ในช่วง Grade B มีค่าดัชนีพลาสติก (Plasticity Index, PI) เป็น Non ค่าสึกหรออยู่ที่ร้อยละ 53.7 และมีค่า C.B.R. อยู่ที่ร้อยละ 36.5 ซึ่งตัวอย่าง มีขนาดคละที่ดี เป็นคุณสมบัติที่เหมาะสมในการใช้เป็นชั้นรองพื้นทางตาม มาตรฐาน ทล.-ม 205/2532 จึงทำให้อัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนที่ดีที่สุด ตามมาตรฐานจากกรมทางหลวง ในงานพื้นทางการทดลอง California Bearing Ratio Test ต้องมีค่า ≥ ร้อยละ 80 เมื่อนำดินลูกรังผสมกับกาก แอสฟัลต์คอนกรีตทำให้ค่า California Bearing Ratio Test เพิ่มจากร้อย ละ 30.3 เป็น ร้อยละ 36.5 คิดเป็น ร้อยละ 20.5 โดยประมาณ ซึ่งค่าที่ได้ จากทดลองไม่ถึงเกณฑ์ตามมาตรฐานกรมทางหลวง จึงทำให้ไม่สามารถ นำมาใช้ทดแทนหินคลุกได้ แต่สามารถนำไปใช้ในงานชั้นรองพื้นทางได้

เผยแพร่แล้ว
2024-06-05