การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 29
The 29th National Convention on Civil Engineering

หลักการและเหตุผล

การจัดการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มาจนถึงปัจจุบัน ในปีนี้เป็นครั้งที่ 29 ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการครั้งนี้ โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ หน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมโยธา จะมีกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

การประชุมครั้งนี้อยู่ภายใต้หัวข้อ “จากภูมิปัญญาที่สืบสานสู่การรังสรรค์โลกที่ยั่งยืน” (From Knowledge to Transformation) โดยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับวงการการศึกษา วิชาชีพวิศวกรรมโยธา หรือหลากหลายวิชาชีพอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ให้มีคุณลักษณะทางด้านสติปัญญาและความฉลาดเหมือนมนุษย์ โดยมีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความถนัดด้านเทคโนโลยีเพื่อการสร้างและแบ่งปันความรู้ระหว่างปัญญาประดิษฐ์และระบบที่เชื่อมโยงกัน การสร้างแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองเรื่อย ๆ จะช่วยให้เครื่องมือที่ใช้สามารถถ่ายทอดความรู้และข้อมูลใหม่ไปยังเครื่องอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว แต่ในการนำเทคโนโลยี AI มาใช้งาน จำเป็นต้องมีการป้อนข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เพื่อให้ AI ได้เกิดการเรียนรู้ จึงต้องมีการผสมผสานความรู้ ประสบการณ์และความชำนาญของวิศวกรรุ่นเก่าร่วมกับความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของวิศวกรรุ่นใหม่

การจัดประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ว่าหากมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีของวิศวกรรุ่นใหม่ร่วมกับความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิเข้าด้วยกันแล้วนั้น จะสามารถทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายได้ โดยวิศวกรรุ่นใหม่มีความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมโยธาอย่างเชี่ยวชาญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนโครงการ การจัดการทรัพยากร และการสร้างโซลูชันที่มีคุณค่าสูงขึ้นจนบางครั้งอาจลืมถึงที่มาของข้อมูลต่างๆเหล่านั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำงานร่วมกับวิศวกรรุ่นเก่าที่มีประสบการณ์ทำให้เกิดการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ที่มีค่า เพื่อให้งานวิจัยดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นประสบการณ์ที่เรียนรู้ไปพร้อมกัน อีกทั้งยังช่วยสร้างโอกาสให้นิสิตและนักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงในสายงานวิศวกรรมโยธา ทำให้พวกเขามีโอกาสพัฒนาทักษะและความรู้ในสายงานนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่จะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านที่ไม่ได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการโยธาแห่งชาติมาหลายปีแล้วให้มีโอกาสได้เข้าร่วมเพื่อเสวนาบอกเล่าประสบการณ์อันทรงคุณค่าให้กับวิศวกรรุ่นใหม่รับฟัง รวมถึงการกลับมาพบเจอกันเพื่อสร้างมิตรภาพ และความทรงจำใหม่ๆร่วมกัน

ด้วยความร่วมมือระหว่างวิศวกรรุ่นเก่าที่มากประสบการณ์และวิศวกรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เราสามารถสร้างอนาคตที่ยิ่งใหญ่สำหรับสายงานวิศวกรรมโยธานี้และเพื่อประโยชน์อย่างสูงสุดในการพัฒนาสังคมและอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว การนำเทคโนโลยีและความรู้มาปรับปรุงและพัฒนาสายงานวิศวกรรมโยธาจึงเป็นการลงทุนที่มีค่าและมีผลในการเพิ่มความยั่งยืนของอุตสาหกรรมและสังคมทั้งหมด โดยในปีที่แล้วมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาประมาณ 600 คน ดังนั้นจึงนับเป็นโอกาสสำคัญที่ดีในปีนี้ ในการเปิดโลกของการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมโยธาระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย นิสิต/นักศึกษา วิศวกรโยธาที่ประกอบวิชาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน บริษัท ห้างร้านต่างๆ รวมทั้งประชาชนทั่วไปที่สนใจ เพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมในสายงานวิศวกรรมโยธาอย่างมีประสิทธิภาพ และต่อยอดงานวิจัยเพื่อส่งต่อสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคตที่ยิ่งใหญ่และยั่งยืนมากขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างเครือข่ายด้านวิศวกรรมโยธาและเป็นเวทีในการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ทางด้านวิชาชีพ 
  2. เพื่อเป็นช่องทางในการต่อยอดนวัตกรรม งานวิจัย และประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรมโยธา ไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม 
  3. เพื่อนำเสนอความรู้ เทคนิคการก่อสร้าง และเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมโยธาใหม่ๆ ผ่านการออกบูธจัดงานของบริษัทผู้ให้การสนับสนุน

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมประชุม

อาจารย์ นักวิจัย วิศวกรโยธาที่ปฏิบัติวิชาชีพ ผู้ประกอบการธุรกิจ นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจในงานด้านวิศวกรรมโยธา

หัวข้อการประชุม

  1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering : STR)
  2. วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง (Construction Material Engineering : MAT)
  3. วิศวกรรมการก่อสร้างและการจัดการ (Construction Engineering and Management : CEM )
  4. วิศวกรรมปฐพี (Geotechnical Engineering : GTE)
  5. วิศวกรรมขนส่ง และโลจิสติกส์ (Transport and Logistics Engineering : TRL)
  6. วิศวกรรมแหล่งน้ำ (Water Resource Engineering : WRE)
  7. วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Survey and Geographic Information System Engineering : SGI)
  8. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment and Energy Engineering : ENV)
  9. วิศวกรรมกับงานปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence for Engineering : AIE)

รูปแบบการจัดการประชุม

  1. การนำเสนอผลงานวิจัยและการประยุกต์ ในรูปแบบบรรยาย (Oral presentation)
  2. การบรรยายพิเศษด้านวิศวกรรมโยธา โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
  3. นิทรรศการความก้าวหน้าด้านงานวิจัยและเทคโนโลยีทางวิศวกรรมโยธา

กำหนดการสำคัญ

เปิดรับบทคัดย่อ 1 - 31 มกราคม 2567
แจ้งผลการพิจารณาบทคัดย่อ 10 กุมภาพันธ์ 2567 
วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับสมบูรณ์ 31 มีนาคม 2567 12 เมษายน 2567 26 เมษายน 2567 28 เมษายน 2567
แจ้งผลการพิจารณาบทความฉบับสมบูรณ์ 22 เมษายน 2567
วันสุดท้ายของการชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า 30 เมษายน 2567  7 พฤษภาคม 2567
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ 29 - 31 พฤษภาคม 2567

อัตราค่าลงทะเบียน

บทความที่ได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ เพื่อรับการตีพิมพ์ Proceeding ซึ่งมีอัตราค่าลงทะเบียน (Registration Fee) ดังนี้

 

ลิงค์สำหรับลงทะเบียนเข้าร่วมงานและแจ้งชำระเงิน
https://docs.google.com/.../1FAIpQLSeVdJMfLDE80B.../viewform
ลิงค์ตรวจสอบสถานะการโอนเงิน
https://lookerstudio.google.com/.../5c9d917.../page/8PrrD...