ตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์สำหรับการวิเคราะห์การพังทลายต่อเนื่องด้วยวิธีสถิตยศาสตร์ไม่เชิงเส้น
คำสำคัญ:
การพังทลายต่อเนื่อง, ตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์, พลศาสตร์ไม่เชิงเส้น, สถิตยศาสตร์ไม่เชิงเส้นบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์การพังทลายต่อเนื่องด้วยวิธีสถิตยศาสตร์ไม่เชิงเส้นของโครงข้อแข็งใน 2 มิติ พร้อมทั้งเลือกรูปแบบการวิบัติเริ่มต้น 3 ประเภทคือการวิบัติของเสาภายนอก การวิบัติของเสาภายในต่อเนื่อง 1 ช่วง และการวิบัติของเสาภายในต่อเนื่อง 2 ช่วง แบบอาคารที่ใช้ศึกษาเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีความสูง 2 ถึง 7 ชั้นโดยแต่ละชั้นสูง 3.0 ม. กว้างช่วงละ 5.0 ม. ใช้หน้าตัดคานขนาด 25x65 ซม. และหน้าตัดเสาขนาด 25x25 ซม. การศึกษาจะวิเคราะห์สถิตยศาสตร์ไม่เชิงเส้นเทียบกับพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการพังทลายต่อเนื่องจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างทางพลศาสตร์ด้วยวิธีการจำลองมวลแบบเป็นก้อนด้วยการแบ่งชิ้นส่วนคานออกเป็น 8 ชิ้นส่วนย่อย และการวิเคราะห์โครงสร้างแบบไม่เป็นเชิงเส้นใช้วิธีการจำลองจุดหมุนแบบพลาสติกที่ปลายของชิ้นส่วนคาน จากการศึกษาโครงสร้างจำนวน 108 ตัวอย่างพบว่าการวิเคราะห์โครงสร้างสถิตยศาสตร์ไม่เชิงเส้นจะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์คืออัตราส่วนของโมเมนต์ดัด จำนวนชั้น และประเภทของโครงสร้าง ซึ่งอัตราส่วนของโมเมนต์ดัดที่มีค่าลดลงจะส่งผลให้ตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์มีค่าเพิ่มมากขึ้น จำนวนชั้นที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้ตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์มีค่าเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน และภายใต้เงื่อนไขเดียวกันลักษณะโครงสร้างไม่มีผลต่อตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อนำผลของตัวคูณเพิ่มทางพลศาสตร์มาสร้างสมการทางคณิตศาสตร์จะสามารถสร้างสมการที่มีร้อยละของความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 0.0-8.8 เปอร์เซ็นต์ โดยสมการที่ใช้วิเคราะห์จะกำหนดให้อยู่ในรูปของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล