การศึกษาพฤติกรรมของเหล็กเสริมที่ฝังในท่อ Corrugated Duct

ผู้แต่ง

  • วัฒนพงศ์ หิรัญมาลย์
  • ศิรัณ หงษ์ยศ
  • ชวลิต แซ่ฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • วุฒิชัย หาญสุวรรณชัย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • สิทธิพร กุลวงศ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คำสำคัญ:

ท่อเหล็กลูกฟูกชุบสังกะสี, วัสดุประสาน, ปูนเกร้าท์, คอนกรีตสำเร็จรูป

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาพฤติกรรมและลักษณะการวิบัติของรอยต่อโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปซึ่งใช้เหล็กเสริมที่ฝังในท่อเหล็กลูกฟูกชุบสังกะสี ภายใต้อัตราส่วนของวัสดุประสานที่แตกต่างกัน 4 สัดส่วน คือ อัตราส่วนการผสมระหว่างปูนเกร้าท์ (Non-Shrink Grout) กับปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 (Portland Cement Type 1) ในอัตราส่วนปูนเกร้าท์ต่อปูนซีเมนต์ 1:0, 1:1, 1:2 และ 1:3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสามารถในการรับแรงดึงและพฤติกรรมของรอยต่อประเภทนี้ผ่านกำลังที่พัฒนาร่วมกันระหว่างเหล็กเสริมกับวัสดุประสานในท่อลูกฟูก จากผลการทดสอบพบว่าเหล็กเสริมที่ทำงานในท่อเหล็กลูกฟูกร่วมกับวัสดุประสานในอัตราส่วน 1:0, 1:1 และ 1:2 สามารถรับกำลังดึงจนเกิดการวิบัติที่เหล็ก ในส่วนของเหล็กเสริมที่ทำงานในท่อเหล็กลูกฟูกร่วมกับวัสดุประสานในอัตราส่วน 1:3 อาจจะยังไม่ชัดเจนว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานก่อสร้างจริงได้ เนื่องจากพฤติกรรมการรับกำลังดึงของเหล็กเสริมของชิ้นตัวอย่างทดสอบ 1 จาก 3 ชิ้น รับกำลังได้ถึงจุดครากและจุดประลัยแต่ไปไม่ถึงจุดวิบัติของเหล็ก เนื่องจากเกิดการรูดระหว่างเหล็กเส้นกับวัสดุประสาน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-07

วิธีการอ้างอิง

หิรัญมาลย์ ว., หงษ์ยศ ศ., แซ่ฟ้า ช., หาญสุวรรณชัย ว., & กุลวงศ์ ส. (2023). การศึกษาพฤติกรรมของเหล็กเสริมที่ฝังในท่อ Corrugated Duct. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, STR49–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2556