การประยุกต์ใช้เสาเข็มเหล็กในงานโครงสร้างพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • นพดล ชูคง
  • สราวุธ จริตงาม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
  • เชิงชาย ทิพย์วีรกุล
  • ประเสริฐ ธรรมมนุญกุล
  • สมเกียรติ ชูแสงสุข

คำสำคัญ:

เสาเข็มเหล็ก, โครงสร้างพื้นฐาน, เสาไฟถนนแบบสูง, ป้ายจราจร, การตรวจสอบภาคสนาม

บทคัดย่อ

เสาเข็มเหล็กถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการก่อสร้างฐานรากของโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการในไทยเช่น เสาไฟถนนแบบสูง ป้ายจราจร ฐานรากถนนและกำแพง เป็นต้น การออกแบบที่โดดเด่นทำให้ลักษณะการรับน้ำหนักของเสาเข็มเหล็กซับซ้อนกว่าเสาเข็มทั่วไปมาก เสาเข็มเหล็กมีข้อดีคือความสามารถในการรับน้ำหนักสูง การใช้งานที่หลากหลาย การติดตั้งเสาเข็มที่รวดเร็ว ไม่มีเสียงรบกวนและไม่สั่นสะเทือน บทความนี้จะนำเสนอแนวคิดในการออกแบบและพฤติกรรมการรับน้ำหนักของฐานรากเสาเข็มเหล็กในโครงการก่อสร้างรูปแบบต่างๆ การวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะการรับน้ำหนักของฐานรากของเสาเข็มเหล็กและเสาเข็มแบบทั่วไปจากการตรวจสอบภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่าในฐานรากแบบที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของเสาเข็มเท่ากันเสาเข็มเหล็กจะมีความสามารถในการรับน้ำหนักสูงสุดของสูงกว่าเสาเข็มแบบทั่วไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

ชูคง น., จริตงาม ส. ., ทิพย์วีรกุล เ., ธรรมมนุญกุล ป., & ชูแสงสุข ส. (2023). การประยุกต์ใช้เสาเข็มเหล็กในงานโครงสร้างพื้นฐาน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, INF11–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2439