การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง น่าน และเจ้าพระยา เชิงกลยุทธ์

ผู้แต่ง

  • กาญจนาภรณ์ บุญยัง ภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • วราพร ดวนจันทึก
  • สนิท วงษา

คำสำคัญ:

ลุ่มน้ำปิง, ลุ่มน้ำน่าน, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา, การจัดการความเสี่ยงน้ำท่วม, Nays2DFlood

บทคัดย่อ

ประเทศไทยประสบปัญหาด้านอุทกภัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมักจะเกิดในช่วงที่มีฝนตกหนักและพายุถล่ม ส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นและเข้าท่วมบ้านเรือนจนเสียหาย รวมถึงพื้นที่เชิงภูมิศาสตร์ของจังหวัดต่าง ๆ เป็นพื้นที่ราบลุ่มและเป็นทางผ่านของน้ำจึงยากที่จะหลีกเลี่ยงอุทกภัยได้ ในปี 2554 ประเทศไทยประสบมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่เกือบทั่วประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สำหรับงานวิจัยในครั้งนี้ได้นำโปรแกรมแบบจำลองทางชลศาสตร์ Nays2DFlood มาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางชลศาสตร์ของลุ่มน้ำปิง น่าน และเจ้าพระยา และเสนอแนวทางในการจัดการพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงเสนอให้มีการขุดลอกคลองท่อทองแดงและผันน้ำจากแม่น้ำปิงตอนล่างไปยังฝั่งตะวันออกสู่คลองแม่ระกา จังหวัดตาก ในพื้นที่ลุ่มน้ำน่านเสนอให้มีการขุดลอกคลองบางระกำและผันน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์ ปรับปรุงระบบระบายน้ำ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเสนอให้มีการจัดทำแก้มลิง ทุ่งรับน้ำ ขุดลอกคลอง และปรับปรุงคลองระบายน้ำ จัดทำที่พักน้ำฝน ยกระดับถนน การผันน้ำ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์เพื่อใช้วางแผนในการจัดการพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในอนาคตได้

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

บุญยัง ก., ดวนจันทึก ว., & วงษา ส. . (2023). การศึกษาด้านแหล่งน้ำเพื่อการจัดการความเสี่ยงน้ำท่วมของลุ่มน้ำปิง น่าน และเจ้าพระยา เชิงกลยุทธ์. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, WRE22–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2367

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##