การติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงปี ค.ศ. 2017 – 2022 ด้วยเทคนิคอินซาร์แบบอนุกรมเวลา โดยใช้ซอฟต์แวร์ MintPy

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐริณีย์ เอี้ยวรัตนวดี ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปวัน ภิรมย์ทอง ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

อินซาร์, อินซาร์แบบอนุกรมเวลา, การติดตามการทรุดตัวของแผ่นดิน, ซอฟต์แวร์ MintPy

บทคัดย่อ

การทรุดตัวของแผ่นดินมีสาเหตุจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งทางตรง เช่น การสูบน้ำบาดาล และทางอ้อม เช่น การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เมื่อขนาดการทรุดตัวสะสมมากเกินขีดจำกัดอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการติดตามได้หลายวิธีแต่ยังมีข้อจำกัดที่ความละเอียดของข้อมูลในเชิงตำแหน่งไม่เพียงพอและมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งการสำรวจระยะไกลสามารถลดข้อจำกัดนี้ได้โดยใช้เทคนิคอินซาร์แบบอนุกรมเวลาเพื่อตรวจสอบการทรุดตัวของแผ่นดิน งานวิจัยนี้ใช้การประมวลผลด้วยเทคนิค Small Baseline โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-1 ในวงโคจรขาขึ้น ช่วงปี ค.ศ. 2017 – 2022 และในวงโคจรขาลง ช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2022 ด้วยซอฟต์แวร์ MintPy ซึ่งมีระยะเวลาในการประมวลผลอัพเดทข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เหมาะแก่การใช้เป็นระบบติดตามการทรุดตัวของแผ่นดิน โดยพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาคือกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเนื่องจากเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จากการวิจัยพบว่าพื้นที่ที่มีอัตราการทรุดตัวสูง คือ ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า และพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จ.สมุทรสาคร โดยมีค่าอัตราการทรุดตัวมากกว่า 30 มิลลิเมตรต่อปี และมีค่าสหสัมพันธ์ของสองชุดข้อมูลอยู่ในช่วง 0.6 – 0.9 แสดงถึงความสอดคล้องกันระหว่างผลลัพธ์ ดังนั้นควรมีการติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-07-09

วิธีการอ้างอิง

เอี้ยวรัตนวดี ณ., & ภิรมย์ทอง ป. (2023). การติดตามการทรุดตัวของแผ่นดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงปี ค.ศ. 2017 – 2022 ด้วยเทคนิคอินซาร์แบบอนุกรมเวลา โดยใช้ซอฟต์แวร์ MintPy. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28, 28, SGI07–1. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce28/article/view/2079